Page 148 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 148
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้คุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ ได้แก่ การห้ามเลือกปฏิบัติ
ด้วยเหตุแห่งอายุ การก�าหนดว่าให้บุคคลซึ่งมีอายุเกิน ๖๐ ปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพย่อมมีสิทธิได้รับความ
๒๖๔
ช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ และยังบัญญัติให้รัฐก�าหนดแนวนโยบายเพื่อให้ความช่วยเหลือ
๒๖๕
แก่ผู้สูงอายุให้สามารถด�ารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและคุ้มครองป้องกัน มิให้ถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
ตลอดทั้งให้การบ�าบัด ฟื้นฟูและเยียวยาผู้ถูกกระท�าการดังกล่าว โดยในการจัดสรรงบประมาณรัฐพึงค�านึงถึงความจ�าเป็น
และความต้องการที่แตกต่างกันของวัย ๒๖๖
ปี ๒๕๖๐ รัฐได้ด�าเนินการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับผู้สูงอายุที่ส�าคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อ
รองรับการด�าเนินการมาตรการให้เงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย พร้อมกับหาแหล่งเงินเข้า กองทุน
ผู้สูงอายุ ซึ่งท�าหน้าที่ให้เงินสนับสนุนโครงการด้านผู้สูงอายุ และให้เงินกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อให้
กองทุนสามารถให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้มีรายได้เพิ่มขึ้น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖)
๒๖๗
พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้ความคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุในกรณีการเกษียณอายุว่า หากนายจ้างไม่ได้ก�าหนดเรื่องการเกษียณอายุ
๒๖๘
ของลูกจ้างไว้ในข้อบังคับเกี่ยวกับการท�างานหรือก�าหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่า ๖๐ ปี เมื่อลูกจ้างมีอายุครบ ๖๐ ปี
บริบูรณ์ หากไม่ประสงค์จะท�างานกับนายจ้างดังกล่าวต่อ สามารถยื่นสิทธิขอเกษียณอายุด้วยตนเองได้และให้ถือว่าการ
เกษียณอายุนั้นเป็นการเลิกจ้างโดยได้รับค่าชดเชยตามที่กฎหมายก�าหนด
๒๖๙
รัฐยังได้ออกมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยให้ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลซึ่งรับผู้สูงอายุที่มีอายุหกสิบปีขึ้นไปเข้าท�างาน ทั้งนี้ จากการส�ารวจการท�างานของผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๕ -
๒๗๐
๒๕๕๙ พบว่า จ�านวนผู้สูงอายุที่ท�างานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จากปีี ๒๕๕๕ จ�านวน ๓.๒๗ ล้านคน เป็น ๔.๐๒ ล้านคน
ในปีี ๒๕๕๙ นอกจากนี้ ผลส�ารวจการได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุจากการท�างานของผู้สูงอายุ พบว่า ในปี ๒๕๕๙
๒๗๑
มีผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ จากการท�างาน ๖.๗๒ แสนคน หรือร้อยละ ๑๖.๗ ของผู้สูงอายุที่ท�างานทั้งหมด
ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บจากของมีคมบาด/ทิ่ม/แทง ร้อยละ ๖๐.๗ ๒๗๒
แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑) ระบุสภาพปัญหาส�าคัญของกลุ่มผู้สูงอายุของ
ประเทศไทยว่า (๑) สวัสดิการส�าหรับผู้สูงอายุยังคงตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสงเคราะห์ และส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบการ
โอนทรัพยากรจากภาครัฐไปสู่ผู้สูงอายุ จึงขาดความยั่งยืน (๒) การเตรียมความพร้อมส�าหรับประเทศในการเข้าสู่สังคม
ผู้สูงอายุยังคงมีลักษณะที่ค่อนข้างแยกส่วน และ (๓) ระบบการออมของประเทศยังคงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอให้เกิดการ
เปลี่ยนผ่านระบบสวัสดิการของประเทศ
๒๗๓
ภาพรวมสถานการณ์ผู้สูงอายุจากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจ�าปี ๒๕๕๙ แสดงให้เห็นว่า ในด้านความ
๒๗๔
มั่นคงทางรายได้ของผู้สูงอายุ (income security) หนึ่งในสามของผู้สูงอายุมีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจน โดยปี ๒๕๕๘
ผู้สูงอายุร้อยละ ๓๔.๓ มีรายได้ต�่ากว่าเส้นความยากจน หรือ เป็นผู้มีรายได้ต�่ากว่า ๒,๖๔๗ บาทต่อเดือน โดยบุตรยังคง บทที่
๕
เป็นแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุส่วนใหญ่ แต่ก็มีแนวโน้มลดลง (ข้อมูลตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ - ๒๕๕๗) ในปี ๒๕๕๙ มีผู้สูงอายุได้รับ
๒๖๔ มาตรา ๒๗
๒๖๕ มาตรา ๔๘ วรรคสอง
๒๖๖ มาตรา ๗๑
๒๖๗ การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
๒๖๘ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓๔ ตอนที่ ๘๘ ก ลงวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๐
๒๖๙ หนังสือกระทรวงแรงงาน ด่วนที่สุด ที่ รง ๐๒๐๖.๑/๓๕๐๙ ลงวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เรื่อง ขอส่งข้อมูลเพื่อประกอบการจัดท�ารายงานประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของ
ประเทศไทย ประจ�าปี ๒๕๖๐.
๒๗๐ มาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๖๓๙) พ.ศ. ๒๕๖๐
๒๗๑ ๒๕๕๙. ส�านักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่ส�าคัญการท�างานของผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๙. หน้า ฉ.
๒๗๒ ๒๕๕๙. ส�านักงานสถิติแห่งชาติ. เรื่องเดิม. หน้า ฎ.
๒๗๓ ๒๕๕๖. กระทรวงยุติธรรม. แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑). หน้า ๖๗ – ๖๘.
๒๗๔ รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย เป็นรายงานที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) มีหน้าที่จัดท�าขึ้นตามที่พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ก�าหนดไว้ ในมาตรา ๙ (๑๐) เพื่อ
เสนอรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจ�าทุกปี
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 147