Page 141 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 141

๒๓๕
                ความรุนแรงต่อสตรี  (violence against women) เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของสตรี
           และท�าให้ประโยชน์ที่สตรีจะได้รับจากสิทธิและเสรีภาพเหล่านั้น ต้องถูกท�าลายหรือลดน้อยลง  อันเป็นสาเหตุที่ส�าคัญ
                                                                                       ๒๓๖
           ของการน�าไปสู่การครอบง�าและการเลือกปฏิบัติต่อสตรีโดยบุรุษ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส�าคัญอย่างยิ่งในการขัดขวางความก้าวหน้า
           ของสตรี ทั้งนี้ ในปี ๒๕๖๐ ข้อมูลจากฐานข้อมูลความรุนแรงต่อสตรี เด็ก และความรุนแรงในครอบครัว แสดงให้เห็นว่า สตรี

           ยังคงเป็นผู้ถูกกระท�าความรุนแรงมากกว่าบุรุษ โดยคิดเป็น ร้อยละ ๘๕.๘๓ (สตรีจ�านวน ๓๑๒ > บุรุษจ�านวน ๕๙ ราย)
           ในขณะเดียวกัน บุรุษ ก็เป็นผู้กระท�าความรุนแรงมากกว่าสตรี คิดเป็น ร้อยละ ๘๗.๙๗ (บุรุษจ�านวน ๓๒๙ > สตรีจ�านวน ๔๒ ราย)
                                                                                                          ๒๓๗
           (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๐) ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ที่รัฐจะต้องด�าเนินมาตรการทุกวิถีทางทั้งทางกฎหมาย ทางการ
           บริหาร รวมไปถึงทางด้านตุลาการ เพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ในการขจัดความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับสตรีในทุกรูปแบบ


           ข้อเสนอแนะ


                ๑) รัฐควรให้ความส�าคัญกับการด�าเนินการใด ๆ เพื่อขจัดแนวความคิดแบบเก่าเกี่ยวกับบทบาทของบุรุษและสตรี

           ในทุก ๆ ระดับ และทุก ๆ รูปแบบของการศึกษา  โดยอาจบรรจุหลักสูตร/บทเรียนที่เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันระหว่างเพศ
                                                ๒๓๘
           ไว้ในทุกระดับการศึกษา
                ๒) รัฐควรพิจารณาให้มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดหรือการคุกคามทางเพศในที่ท�างาน
           มีสภาพในลักษณะบังคับ มีบทลงโทษที่ชัดเจน โดยในการตั้งคณะกรรมการสอบวินัยในเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการละเมิด

           ทางเพศ ควรที่หน่วยงานจะต้องค�านึงถึงสัดส่วนของสตรีและบุรุษเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการ
                ๓) ขอให้รัฐให้ความส�าคัญกับการก�าหนดอายุขั้นต�่าที่จะจดทะเบียนสมรสทั้งหญิงและชายให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
           สากล คือ อายุขั้นต�่าที่สุดของการแต่งงานควรอยู่ที่ ๑๘ ปี (CEDAW/C/THA/CO/6-7, para. 49)


           ๕.๓ สิทธิด้านวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ



           ภาพรวม



                การประเมินสถานการณ์สิทธิด้านวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศในประเทศไทย เชื่อมโยงพัฒนาการและ
           การเคลื่อนไหวทางสังคมของกลุ่มบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างหลากหลาย โดยครอบคลุมอัตลักษณ์ร่วมของ
           กลุ่มหญิงรักหญิง (Lesbian) ชายรักชาย (Gay) บุคคลที่รักทั้งสองเพศ (Bisexual) และบุคคลข้ามเพศ ซึ่งมีอัตลักษณ์ของ
           เพศวิถีหรือการแสดงออกทางเพศตรงกันข้ามกับอัตลักษณ์ของเพศโดยก�าเนิด (Transgender/Transsexual) และกลุ่ม

           บุคคลที่มีภาวะเพศก�าเนิดทั้ง ๒ เพศ (Intersex) ตลอดจนบุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศแบบเลื่อนไหล (Queer)
                “สิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ” เกี่ยวข้องกับหลักการใน ๒ ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่ง ข้อบทและ
           หลักการส�าคัญตามที่ก�าหนดไว้ในสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี โดยพิจารณาควบคู่ไปกับการ
           ตีความหมาย และการเชื่อมโยงของข้อบทในประเด็นที่มีความโน้มเอียง หรือเกี่ยวข้องทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศที่น�าเสนอ

           ในหลักการยอกยาการ์ตาว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศในประเด็นความโน้มเอียงทางเพศ และ
           อัตลักษณ์ทางเพศ (The Yogyakarta Principles)  ซึ่งเน้นหลักการไม่เลือกปฏิบัติ และการไม่กระท�าการใด ๆ ที่เป็น
                                                    ๒๓๙
           ความรุนแรง หรือการละเมิดสิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศเป็นส�าคัญ  และการตอบตกลงรับข้อเสนอแนะ (accept) หรือ
                                                                      ๒๔๐
           ๒๓๕  หมายถึง การกระท�าใด ๆ ที่เป็นความรุนแรงทางเพศ ซึ่งเป็นผลหรืออาจเป็นผลให้เกิดการท�าร้ายทางร่างกาย ทางเพศหรือทางจิตใจ เป็นผลให้เกิดความทุกข์ทรมานแก่สตรี รวมทั้งการ
              ขู่เข็ญ คุกคาม กีดกันเสรีภาพทั้งในที่สาธารณะและในชีวิตส่วนตัว. (องค์การสหประชาชาติ. ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรงต่อสตรี. ๒๕๓๖).
           ๒๓๖  ๒๕๔๖. มูลนิธิผู้หญิง. ทศวรรษการประชุมระดับโลกว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ณ กรุงเวียนนากับความรุนแรงต่อสตรี. หน้า ๓๓
           ๒๓๗  กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่ พม ๐๕๐๓/๕๙๐๒ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง ขอส่งข้อมูลผลการด�าเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓. หน้า ๒.
           ๒๓๘  CEDAW ข้อ ๑๐ (ค).
           ๒๓๙  ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, หลักการยอกยาการ์ตา : ว่าด้วยการใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ในประเด็นความโน้มเอียงวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ
              / ไพศาล ลิขิตปรีชากุล, แปล

           140 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146