Page 140 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 140

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ของบุคคล ๖ กลุ่ม



            คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบวินัยในเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวกับการละเมิดทางเพศ ควรที่หน่วยงาน
            จะต้องค�านึงถึงสัดส่วนของสตรีและบุรุษเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการ เนื่องจากหากองค์ประกอบของคณะกรรมการ
            เป็นบุรุษทั้งหมด อาจท�าให้กระบวนการสอบสวนขาดมุมมองด้านสตรีที่เข้าใจถึงสถานภาพและแนวคิดของสตรีที่เป็นการ
            ถ่วงดุลซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ ควรจะให้มีคณะกรรมการที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานเข้าเป็นองค์คณะด้วย ๒๓๓





































                  ภาพรวมสถานการณ์สิทธิสตรี  พบว่า
            ประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างยิ่งในด้านการ
            ศึกษาของสตรี โดยสตรีที่ได้รับการศึกษามีสัดส่วนที่
            สูงมากเมื่อเทียบกับสตรีที่ไม่ได้รับการศึกษา โดยมี

            สตรีที่ได้รับการศึกษาสูงถึงร้อยละ ๙๗.๙๕ อย่างไร
            ก็ตาม ประเทศไทยยังมีเด็กหญิงที่แต่งงานก่อนวัย
            อันควรโดยบางส่วนต้องเผชิญกับสถานการณ์
            การหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ ซึ่งการแต่งงานก่อนวัย                                                       บทที่
                                                                                                                   ๕
            อันควรของเด็กถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
            ขั้นพื้นฐานและจะส่งผลกระทบต่อชีวิตของเด็กหญิง
            ในทุก ๆ ด้าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการตัดโอกาส
                      ๒๓๔
            ทางการศึกษาของเด็กหญิงน�าไปสู่การขาดความ

            สามารถในทางเศรษฐกิจซึ่งเมื่อเด็กหญิงเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่จึงต้องตกอยู่ภายใต้การครอบง�าของสามีในที่สุด นอกจากนั้น
            เด็กหญิงที่แต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อยยังเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตระหว่างการคลอดบุตร หากตั้งท้องในขณะที่ร่างกาย
            ไม่พร้อม ทั้งนี้ ประเทศไทยก�าหนดอายุขั้นต�่าที่จะจดทะเบียนสมรสได้ไว้ที่ ๑๗ ปีบริบูรณ์เท่ากันทั้งหญิงและชายโดยบุพการี
            หรือผู้ปกครองให้ความยินยอม




            ๒๓๓  รายงานผลการพิจารณา ที่ ๕๐๑/๒๕๕๗ เรื่อง สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณีข้าราชการทหารหญิงถูกผู้บังคับบัญชาล่วงละเมิดทางเพศ.
            ๒๓๔  United Nations Girls’ Education Initiative. วันเด็กหญิงสากล แถลงการณ์ร่วมขององค์การสหประชาชาติผู้ริเริ่มให้การศึกษาแก่เด็กผู้หญิงเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก และเอเชียใต้
                (EAP/SA UNGEI) ยุติการแต่งงานในเด็ก.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 139
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145