Page 149 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 149
เบี้ยยังชีพ ๘ ล้านคน โดยรัฐจ่ายเบี้ยยังชีพสูงถึงประมาณ ๖๓,๒๑๙ ล้านบาท นอกจากนี้ ร้อยละของผู้สูงอายุที่อยู่ตามล�าพัง
คนเดียวหรือตามล�าพังกับผู้สูงอายุด้วยกันมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี ๒๕๕๗ มีผู้สูงอายุที่อยู่ตามล�าพังคนเดียว ร้อยละ ๙
ในขณะที่มีผู้สูงอายุที่อยู่ตามล�าพังกับคู่สมรส ร้อยละ ๑๙ เพิ่มขึ้นจาก ปี ๒๕๔๕ ร้อยละ ๖ และร้อยละ ๑๖ ตามล�าดับ
การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายส�าคัญส�าหรับประกันสิทธิของผู้สูงอายุ คือ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ แต่
กฎหมายดังกล่าวมุ่งคุ้มครองผู้สูงอายุในลักษณะเป็นสวัสดิการสังคม การสงเคราะห์ที่รัฐจัดสรรให้ โดยยังไม่ได้มีมาตรการ
คุ้มครอง ส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง ซึ่งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวในปี ๒๕๖๐
๒๗๕
ยังคงแก้ไขกฎหมายบนพื้นฐานเดิม คือ เน้นไปที่การสงเคราะห์ผู้สูงอายุโดยการให้เงินช่วยเหลือเพื่อการยังชีพแก่ผู้สูงอายุ
ที่มีรายได้น้อย
ผู้สูงอายุในประเทศไทยยังคงประสบ
กับสถานการณ์ความยากจน (poverty)
โดยส่วนใหญ่ยังพึ่งพิงรายได้ในการด�ารงชีพ
จากบุคคลอื่น จึงท�าให้ไม่สามารถด�ารงชีพ
ด้วยตนเองอย่างเป็นอิสระและปราศจาก
ความหวาดกลัว ซึ่งเป็นหน้าที่ที่รัฐจะต้อง
ด�าเนินการที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับ
มาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอส�าหรับ
ตนเองซึ่งรวมถึงอาหาร เครื่องนุ่งห่ม และ
ที่อยู่อาศัยที่เพียงพอ และสภาพการครองชีพ
ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงด�าเนินการ
๒๗๖
เพื่อรับรองว่าผู้สูงอายุจะได้รับสิทธิที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่เป็นได้ ๒๗๗
๒๗๕ ๒๕๖๐. ไพศาล ลิ้มสถิตย์. การคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุตามกฎหมายเปรียบเทียบแนวปฏิบัติของสหประชาชาติและข้อเสนอเรื่องระบบพิทักษ์สิทธิ (Guardianship). เวทีเสวนาวิชาการเพื่อ
น�าเสนอข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัย “ผู้สูงอายุถูกละเมิด...ใครดูแล!!”. วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๖๐ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ.
๒๗๖ กติกา ICESCR ข้อ ๑๑ (๑)
๒๗๗ กติกา ICESCR ข้อ ๑๒ (๑)
148 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐