Page 150 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 150
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
ความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ (equality and non - discrimination)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้บรรจุหลักการที่ส�าคัญในการห้ามการเลือกปฏิบัติด้วย
เหตุแห่งอายุไว้ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีบทบัญญัติที่ชัดเจนในการประกันสิทธิอันเท่าเทียมส�าหรับผู้สูงอายุหรือ
ส�าหรับคนทุกช่วงวัย
การถูกทอดทิ้งละเลย ความรุนแรงและการละเมิด (neglect, violence and abuse)
จากรายงานการศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับความรุนแรงและการละเมิดสิทธิต่อผู้สูงอายุในบริบทของสังคมไทย
๒๗๘
พบว่า ล�าดับที่ ๑ คือ การถูกกระท�ารุนแรงทางจิตใจ ล�าดับที่ ๒ คือ การทอดทิ้งละเลย ไม่ดูแล หรือให้การดูแลไม่เหมาะสม
รวมทั้งปัญหาที่ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ตัวคนเดียว ไม่มีผู้ดูแล ซึ่งมีแนวโน้มเป็นปัญหาหลักส�าคัญโดยมีจ�านวนเพิ่มมากขึ้นในระยะ
๔ ปีที่ผ่านมา ล�าดับที่ ๓ คือ การกระท�ารุนแรงโดยการเอาประโยชน์ด้านทรัพย์สินของผู้สูงอายุ โดยส่วนใหญ่เป็นการกระท�า
จากบุคคลใกล้ชิด เช่น การให้ผู้สูงอายุยกทรัพย์สินให้เมื่อได้ทรัพย์สมบัติแล้วก็ทอดทิ้งไม่ดูแล หรือการหลอกลวงให้ผู้สูงอายุ
ท�าธุรกรรมการเงิน ล�าดับที่ ๔ คือ ผู้สูงอายุที่ถูกกระท�าความรุนแรงทางด้านร่างกาย ได้แก่ การทุบตี ชกต่อย การท�าร้าย
ร่างกายผู้สูงอายุ และล�าดับที่ ๕ คือ การล่วงละเมิดทางเพศหรือคุกคามทางเพศ เป็นความรุนแรงต่อผู้สูงอายุที่พบว่ามี
จ�านวนเพิ่มมากขึ้นในสื่อสาธารณะ โดยผู้กระท�าความรุนแรงมีทั้งบุคคลในครอบครัวซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ หลาน รวมทั้งเกิดจาก
บุคคลนอกครอบครัว ผู้ก่อเหตุแทบทุกรายให้เหตุผลว่า เมาสุราหรือสารเสพติด และเห็นว่าผู้สูงอายุเป็นหญิงอยู่ตัวคนเดียว
ไม่สามารถป้องกันตนเองได้ ผู้ก่อเหตุส่วนใหญ่จะเลือกลงมือกระท�าต่อเหยื่อซึ่งอ่อนแอ หรือไม่กล้ามีปากมีเสียง ๒๗๙
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖ ยังไม่มีมาตรการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ เช่น
การจัดการทรัพย์สิน การด�ารงชีวิตประจ�าวัน การป้องกันการถูกหลอกลวง โดยเน้นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมากกว่าการ
ป้องกันหรือเสริมภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้สูงอายุ โดยกฎหมายอื่นที่จะน�ามาใช้ในการคุ้มครองสิทธิของผู้สูงอายุ คือ ประมวล
๒๘๐
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ยังไม่สามารถน�ามาปรับใช้ในการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุที่ยังมีความสามารถในการตัดสินใจ
เพียงแต่ความสามารถนั้นอาจด้อยลงตามสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยพร้อมอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นบุคคล
ไร้ความสามารถ หรือ บุคคลเสมือนไร้ความสามารถ ดังที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงมีแนวโน้มสูงว่าผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความเสี่ยง
ต่อการถูกละเมิดสิทธิจากช่องว่างทางกฎหมายที่ไม่ได้ให้การรับรองลักษณะของผู้สูงอายุ ตลอดจนความสามารถของผู้สูงอายุ
ในช่วงระยะเวลาที่ความสามารถในด้านต่าง ๆ เริ่มลดลง
๒๘๑
แม้ปัจจุบันยังไม่มีตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนที่บัญญัติเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะ
แต่อย่างไรก็ตาม สิทธิของผู้สูงอายุย่อมได้รับการคุ้มครองหรือต้องได้รับการประกันว่าศักดิ์ศรีหรือคุณค่าของผู้สูงอายุจะต้อง
ไม่ถูกลดทอนลงด้วยเหตุมาจากวัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยกติกา ICCPR และกติกา ICESCR ได้รับรองไว้ว่าศักดิ์ศรีแต่ก�าเนิดและสิทธิ
ที่เท่าเทียมกันและไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งปวงของมวลมนุษยชาติ โดยได้ห้ามการแบ่งแยกและการเลือกปฏิบัติใด ๆ บทที่
๕
ในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง เผ่าพันธุ์แห่งชาติ หรือสังคม ทรัพย์สิน ก�าเนิด หรือ
สถานะอื่น ๆ อีกทั้งอนุสัญญา CEDAW ยังประกันว่าสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุรุษและสตรีและการเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งที่
๒๘๒
ยอมรับไม่ได้โดยทุกคนมีสิทธิและอิสรภาพโดยปราศจากความแตกต่างไม่ว่าจะชนิดใด ๆ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ยังบัญญัติไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งอายุ
๒๗๘ ด้วยการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ (๑) การศึกษาและทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงและการละเมิดสิทธิต่อผู้สูงอายุในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๙ (๒) การศึกษา
และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์จากข้อมูลสถิติรายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงและการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ (๓) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล กรณีศึกษาผู้สูงอายุที่ถูก
กระท�าความรุนแรงหรือละเมิดสิทธิจากข้อมูลที่ปรากฏในสื่อจากศูนย์ช่วยเหลือสังคม ๑๓๐๐ และ (๔) การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่/บุคลากรหน่วยงาน ผู้น�าชุมชน อาสาสมัครในพื้นที่ที่ท�างาน
เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ หรือเกี่ยวข้องกับประเด็นความรุนแรง การละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ.
๒๗๙ จิราพร เกศพิชญวัฒนา. สถานการณ์ความรุนแรงและการละเมิดสิทธิผู้สูงอายุไทย. เอกสารส�าหรับเผยแพร่ในการเสวนา: เวทีเสวนาวิชาการ เรื่อง“ผู้สูงอายุถูกละเมิด...ใครดูแล!!”. วันที่
๒๐ กันยายน ๒๕๖๐.
๒๘๐ ๒๕๖๐. ไพศาล ลิ้มสถิตย์. เรื่องเดิม.
๒๘๑ มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). ๖ ข้อเสนอผ่าปัญหาละเมิดสิทธิผู้สูงอายุ. จาก thaitgri.org. ค้นเมื่อ ๑๑ ธ.ค. ๒๕๖๐.
๒๘๒ ICCPR ข้อ ๒ (๑) และ ICESCR ข้อ ๒ (๒)
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 149