Page 142 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 142
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
การปฏิญาณโดยสมัครใจ (pledge) ของรัฐบาลไทยในกระบวนการ UPR และส่วนที่สอง ข้อบทและหลักการส�าคัญ
๒๔๑
ตามที่ก�าหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเฉพาะในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๗ และ
กฎหมายภายในประเทศฉบับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นส�าคัญ
๒๔๒
สถานการณ์ภาพรวมในปี ๒๕๖๐ พบว่า รัฐบาลและหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้พยายามสร้างมาตรการหรือ
แนวทางในการคุ้มครองและปกป้องด้านวิถีทางเพศ
และอัตลักษณ์ทางเพศ เช่น การบัญญัติ หรือ
ตรากฎหมาย กฎ ระเบียบ และนโยบายให้เกิด
ความเสมอภาคทางเพศ แต่ยังคงมีกลุ่มบุคคล
ที่มีความหลากหลายทางเพศในบางกลุ่มสังคม
วัฒนธรรมที่ต้องเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติ
และมีอุปสรรคหลายประการในการเข้าถึงความ
เป็นธรรม มีการกระท�า หรือก�าหนด รวมถึงการ
ตีความ ให้เป็นความผิดในด้านกฎหมาย นโยบาย
หรือบทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อ
การเลือกปฏิบัติในทางหนึ่งทางใด
นอกจากนั้น กฎหมายบางฉบับที่มีอยู่ อาทิ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ก็ยังมีช่องว่างให้
มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความ
ปลอดภัย และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่ให้
สิทธิเฉพาะสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ในการมีบุตรโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน โดยให้เหตุผลในการคุ้มครอง
บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นสาระส�าคัญ ในขณะที่ลดทอน หรือขยายการตีความสิทธิในการก่อตั้งครอบครัว และการมีคู่ชีวิต ที่
จ�ากัดสิทธิในการสร้างครอบครัวของคู่ชีวิตเพศเดียวกัน ซึ่งในส่วนนี้ยังต้องอาศัยการพิจารณา ปรับปรุง แก้ไข และพัฒนา
กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการด�าเนินการผลักดันการตราพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ทั้งนี้ สถานการณ์หลัก ๆ
๒๔๓
ใน ๕ มิติ มีดังนี้
มิติที่หนึ่ง การกระท�าหรือการก�าหนดให้เป็นความผิด จากการตรวจสอบข้อบททางกฎหมาย นโยบาย หรือ
บทบัญญัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่พบการกระท�าหรือการก�าหนดในลักษณะดังกล่าว แต่ทว่า ยังพบลักษณะของการตีความ
หรืออาจจะเป็นช่องทางที่น�ามาใช้ตีความในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งส่งผลต่อการเลือกปฏิบัติในทางหนึ่งทางใด โดยเฉพาะ
บทที่
๕
๒๔๐ เอกชัย ปิ่นแก้ว, รายงานสรุปการบรรยาย และสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์วิทิต มันตาภรณ์ ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ (SOGI) ในการประชุม
ILGA World Conference ครั้งที่ ๒๘ ปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน – ๒ ธันวาคม ๒๕๕๙ โดยหลักการยอกยาการ์ตา ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก ๒๑ ข้อ คือ สิทธิในการใช้
สิทธิมนุษยชนที่เป็นสากล (ข้อ ๑) สิทธิในความเสมอภาคและการห้ามเลือกปฏิบัติ (ข้อ ๒) สิทธิในการรับรองทางกฎหมาย (ข้อ ๓) สิทธิในชีวิต (ข้อ ๔) สิทธิในหลักประกันของบุคคล (ข้อ
๖) สิทธิในความเป็นอิสระจากการถูกเพิกถอนเสรีภาพโดยพลการ (ข้อ ๗) สิทธิในการพิจารณาคดีด้วยความเป็นธรรม (ข้อ ๘) สิทธิในด้านการปฏิบัติในลักษณะความเป็นมนุษย์ระหว่าง
ถูกควบคุมตัว (ข้อ ๙) สิทธิในความเป็นอิสระจากการทรมาน และการปฏิบัติ หรือลงโทษ ในลักษณะทารุณ โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือท�าลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (ข้อ ๑๐) สิทธิใน
การคุ้มครองจากการแสวงหาประโยชน์ การค้า และการลักพามนุษย์ในทุกรูปแบบ (ข้อ ๑๑) สิทธิในการท�างาน (ข้อ ๑๒) สิทธิในประกันสังคม และมาตรการคุ้มครองทางสังคมอื่นๆ (ข้อ
๑๓) สิทธิในมาตรฐานการครองชีพตามสมควร (ข้อ ๑๔) สิทธิในการมีที่อยู่อาศัยตามสมควร (ข้อ ๑๕) สิทธิในการศึกษา (ข้อ ๑๖) สิทธิในการจัดให้มีมาตรฐานสูงสุดด้านสุขภาพ (ข้อ ๑๗)
ความคุ้มครองจากการกระท�าที่มิชอบทางการแพทย์ (ข้อ ๑๘) สิทธิในความเห็นและการแสดงความคิดเห็น (ข้อ ๑๙) สิทธิในอิสระด้านการชุมนุมโดยสงบ และการสมาคม (ข้อ ๒๐) สิทธิ
ในอิสระด้านความคิด ความเชื่อและศาสนา (ข้อ ๒๑) สิทธิในอิสระด้านการย้ายถิ่นฐาน (ข้อ ๒๒) สิทธิในการแสวงหาที่พักพิง (ข้อ ๒๓) สิทธิในการก่อตั้งครอบครัว (ข้อ ๒๔) สิทธิในการ
มีส่วนร่วมในการด�ารงชีวิตทางปกครอง (ข้อ ๒๕) สิทธิในการมีส่วนร่วมในการด�ารงชีวิตทางวัฒนธรรม (ข้อ ๒๖) สิทธิในการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (ข้อ ๒๗) สิทธิในการเยียวยาแก้ไข และ
การชดใช้ในลักษณะเกิดผลใช้บังคับได้ (ข้อ ๒๘) และภาระความรับผิด (ข้อ ๒๙)
๒๔๑ ในการประชุม UPR เพื่อพิจารณาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทย รอบที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ รัฐบาลไทยตอบตกลงรับ (accept) ข้อเสนอแนะของรัฐบาลเม็กซิโก
โดยเน้นย�้า “การมุ่งมั่นตั้งใจในการส่งเสริมให้เกิดนโยบายก�าหนดมาตรการเชิงป้องกัน การลงโทษ และการก�าจัดการกระท�ารุนแรงในทุกรูปแบบต่อผู้หญิง รวมถึงมาตรการที่เน้นการส่งเสริม
สิทธิผู้หญิงทั้งหมด โดยไม่ไม่มีการเลือกปฏิบัติทั้งเหตุแห่งศาสนา เชื้อชาติ การแสดงอัตลักษณ์ทางเพศ และสถานะทางสังคม”
๒๔๒ ดูรายละเอียดได้ที่ www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/018/17.PDF
๒๔๓ เอกชัย ปิ่นแก้ว, รายงานสรุปการสัมมนา รายงผลการวิจัยเรื่องสิทธิความเสมอภาคในการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย และการเสวนาเรื่อง “สิทธิความ
เสมอภาคในการสมรสที่ถูกเลือกปฏิบัติ” วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี จัดโดยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เครือข่าย
องค์กรสิทธิด้านวิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศ และส�านักงาน กสม.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 141