Page 143 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 143
พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีค�านิยามการเลือกปฏิบัติ ครอบคลุมการเลือก
๒๔๔
ปฏิบัติทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตรการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติใด ๆ โดยหน่วยงานรัฐ
เอกชน หรือบุคคล ทั้งนี้ มุ่งคุ้มครองทั้งหญิง ชาย และผู้มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด แทนที่จะมุ่งคุ้มครอง
เฉพาะผู้หญิงและผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ
นอกจากนั้น หมวด ๓ การตรวจสอบการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ มาตรา ๑๗ วรรคสอง ของกฎหมาย
ฉบับนี้ยังเปิดช่องให้มีการเลือกปฏิบัติได้ โดยยกเว้นให้กับการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อ
ความมั่นคงของประเทศ เพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือ
เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย นอกจากนั้น ยังพบข้อติดขัดในการตีความ และการบังคับใช้กฎหมายที่ส่ง
๒๔๕
ผลกระทบต่อสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวของบุคคลรักเพศเดียวกัน เนื่องจากข้อก�าหนดในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่เกี่ยวข้อง อาทิ หมวด ๒ เงื่อนไขแห่งการสมรส มาตรา ๑๔๔๘ เป็นต้น
๒๔๖
มิติที่สอง การกระท�าหรือการก�าหนดให้เป็นการตีตราหรือเหมารวม โดยภาพรวมของสถานการณ์ด้านการตีตราหรือ
เหมารวม ยังพบ การตีตราและการคุกคามทางเพศและการกระท�าความรุนแรงต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดย
จะเห็นสื่อที่ตอกย�้าภาพต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในลักษณะเหมารวม มีความแตกต่างจากคนทั่วไป ข้อมูลจาก
การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาเพศวิถี อัตลักษณ์ทางเพศสถานะ และการแสดงออกอัตลักษณ์ทางเพศในสื่อ” น�าเสนอว่า
๒๔๗
ร้อยละ ๖๕ ของสื่อภายในประเทศที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน เป็นรูปแบบการน�าเสนอข่าวในลักษณะที่กระตุ้นอารมณ์ โดยเฉพาะ
ข่าวบันเทิง และไม่มีข้อมูลส�าคัญใด ๆ ให้กับสังคม แต่กลับสร้างความรุนแรง การคุกคาม การเกลียดชัง และการลดทอน
คุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังจะพบได้จากการพาดหัวข่าว หรือขึ้นเรื่องที่ส่อเสียดในทางเพศ รวมถึงการน�าเสนอภาพ
ที่สื่อนัยยะทางเพศ และภาพตัวแทนของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชาย ที่มักจะสื่อใน
ทางกามารมณ์ หรือความหมกหมุ่นเรื่องเพศ โรคเอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และอาชญากรรมต่าง ๆ ทั้งนี้ ข้อมูล
จากการศึกษาวิจัย “การคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศ : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก” ก็ระบุว่า ที่มาของ
๒๔๘
การคุกคามทางเพศกลุ่มชายข้ามเพศมาจากการท�าตนเองให้เป็นจุดสนใจและใช้เงินเพื่อซื้อความรัก เมื่อกลุ่มชายข้ามเพศ
ถูกคุกคามทางเพศระดับความรุนแรงน้อยจะมักใช้การนิ่งเฉยไม่โต้ตอบ แต่เมื่อถูกคุกคามทางเพศระดับความรุนแรงมาก
จะตอบโต้และน�าตนเองออกจากสถานการณ์นั้นทันที ทั้งนี้เสนอให้กลุ่มชายข้ามเพศท�าตนเองให้มีคุณค่า เพื่อหลีกเลี่ยง
ปัญหาการคุกคามทางเพศ
มิติที่สาม การยอมรับทางกฎหมายที่มีการแสดงวิถีทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศ พบว่า มีกฎหมายที่มีการแสดง
วิถีทางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมในภาพรวม อาทิ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ
พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้บัญญัติลักษณะของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือบุคคลที่มีการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดย
๒๔๙
ก�าเนิดไว้อย่างชัดเจน โดยก�าหนดให้มีการคุ้มครองบุคคลดังกล่าวจากการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างทางเพศ
เพศภาวะ หรือเพศวิถี ทั้งนี้ ยังไม่มีการปรับปรุง แก้ไข กฎ ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด อาทิ กรณีผู้ต้องขัง
๒๔๔ มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ” หมายความว่า การกระท�า หรือไม่กระกระท�าการใด
อันเป็นการแบ่งแยก กีดกัน หรือจ�ากัดสิทธิประโยชน์ใด ๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุที่บุคคลนั้นเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง หรือมีการแสดงออก
ที่แตกต่างจากเพศโดยก�าเนิด
๒๔๕ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ “มาตรา ๑๗ การก�าหนดนโยบาย กฎ ระเบียบ ประกาศ มาตาการ โครงการ หรือวิธีปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ องค์การเอกชน
หรือบุคคลใดในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศจะกระท�ามิได้ การด�าเนินการตามวรรคหนึ่ง เพื่อขจัดอุปสรรค หรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพ
ได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพและความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักการทางศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น
ธรรมระหว่างเพศ”
๒๔๖ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมวด ๒ เงื่อนไขแห่งการสมรส มาตรา ๑๔๔๘ บัญญัติว่า “การสมรสจะท�าได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว แต่ในกรณีที่มีเหตุ
อันสมควร ศาลอาจอนุญาตให้ท�าการสมรส ก่อนนั้นได้”
๒๔๗ www.info.ms.su.ac.th/sums01/PDF02/158_20160327_j_85.pdf
๒๔๘ อ้างแล้ว
๒๔๙ อ้างแล้ว
142 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐