Page 147 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 147

๕.๔ สิทธิผู้สูงอายุ



           ภาพรวม



                ในปี ๒๕๖๐ ประเทศไทยมีประชากรประมาณ ๖๙,๐๓๘,๐๐๐ คน เป็นกลุ่มประชากรที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป ประมาณ
           ร้อยละ ๑๗  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าในปี ๒๕๖๐ ประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับที่ ๑ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในการ
                    ๒๕๙
           ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing society)  ของการแบ่งระดับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตามเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ ๒๖๑
                                           ๒๖๐





























                คณะท�างาน UN Open–ended Working Group on Ageing  เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศ องค์กร
                                                                    ๒๖๒
           พัฒนาเอกชน และสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่มีสถานะ “A” ให้ความส�าคัญและข้อมูลในประเด็นที่ส�าคัญ (focus
           issues) ของคณะท�างานฯ ได้แก่ ความเท่าเทียมและการไม่เลือกปฏิบัติ (equality and non-discrimination) และ
           ประเด็นการถูกละเลย ทอดทิ้ง การใช้ความรุนแรงและการละเมิด (neglect, violence and abuse) โดยมีค�าถามย่อย

           ในแต่ละประเด็น อาทิ (๑) รัฐธรรมนูญและ/หรือกฎหมายภายในประเทศได้ประกันความเท่าเทียมกันอย่างชัดเจนส�าหรับ
           ผู้สูงอายุหรือคนทุกช่วงวัยหรือไม่ และมีการห้ามการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจนบนพื้นฐานแห่งอายุหรือไม่ (๒) มีการศึกษา
           เฉพาะหรือการส�ารวจเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จากแหล่งข้อมูลของภาครัฐ ไม่ใช่ภาครัฐ หรืองานเชิงวิชาการ เกี่ยวกับความรุนแรง
           การล่วงละเมิด และละเลย ทอดทิ้งหรือไม่ และ (๓) มีกฎหมายใดที่ให้การคุ้มครองผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการถูกแสวงหา

           ประโยชน์ทางการเงิน รวมถึงทรัพย์สินหรือมรดกหรือไม่
                คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CEDAW ได้มีข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุว่า ประเทศไทยไม่มีมาตรการพิเศษ
           ชั่วคราวในการสร้างความเท่าเทียมแก่สตรีและบุรุษอย่างยั่งยืนในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะสตรีที่อยู่ในสถานะที่เสียเปรียบ เช่น
           สตรีที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สตรีที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ และศาสนาของชนกลุ่มน้อย สตรีชนพื้นเมือง และสตรีสูงอายุ ๒๖๓


           ๒๕๙  2017. United Nations: Department of Economic and Social Affairs Population Division.  World Population Prospects The 2017 Revision. TABLE S.1. TOTAL
              POPULATION BY SEX AND PERCENTAGE BY BROAD AGE GROUP BY COUNTRY AND REGION, 2017 (MEDIUM VARIANT). p. 17 - 21.
           ๒๖๐  หมายถึง สังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ ๑๐ ของประชากรทั้งประเทศ หรือมีประชากรอายุตั้งแต่ ๖๕ ปี มากกว่าร้อยละ ๗ ของประชากรทั้งประเทศ.
           ๒๖๑  องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ได้ให้นิยาม ผู้สูงอายุ (Older person) หมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป โดยได้แบ่งระดับการเข้าสู่
              สังคมผู้สูงอายุ เป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ๑. ระดับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Ageing society) ๒. ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) และ ๓. ระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็ม
              ที่ (Super-aged society). ดูเพิ่มเติมที่ รัชนี โตอาจ. สังคมผู้สูงอายุ : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. ค้นเมื่อ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๐. จาก www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/
              Lom12/05-01.html
           ๒๖๒  องค์การสหประชาชาติได้จัดตั้งคณะท�างานเปิดว่าด้วยผู้สูงอายุ (UN Open – ended Working Group on Ageing) เมื่อเดือนธันวาคม 2553 (General Assembly in its resolution
              65/182) เพื่อท�าหน้าที่พิจารณาความเป็นไปได้ในการยกร่างอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของผู้สูงอายุ. (General Assembly in its resolution 65/182)
           ๒๖๓  2017. The Committee on the Elimination of Discrimination against Women. Concluding observations on the combined sixth and seventh periodic reports of
              Thailand* (CEDAW/C/THA/CO/6-7, para. 16).

           146 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152