Page 138 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 138
บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
ของบุคคล ๖ กลุ่ม
คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงใยอย่างยิ่งในประเด็นการค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี
๒๑๗
โดยระบุว่า ไทยเป็นประเทศต้นทางหรือประเทศต้นก�าเนิด ประเทศปลายทาง และเป็นประเทศทางผ่านส�าหรับการ
ค้ามนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีและเด็กหญิงเพื่อแสวงหาประโยชน์ในลักษณะการค้าประเวณี/ขายบริการทางเพศ และ
การบังคับใช้แรงงาน นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้แสดงความกังวลอย่างยิ่งในประเด็นสตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
๒๑๘
โดยระบุว่า เนื่องจากต้องกลายเป็นเป้าหมายในการถูกฟ้องร้องด�าเนินคดี และเผชิญกับความรุนแรงและการถูกคุกคาม
จากการท�างานเพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิของสตรีหลายประการ อาทิ
บัญญัติให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง บุรุษและสตรี
๒๑๙
มีสิทธิเท่าเทียมกัน การห้ามเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความแตกต่างบนพื้นฐานแห่งเพศ การให้ความคุ้มครองสิทธิ
๒๒๐
ของสตรีในช่วงระหว่างก่อนและหลังการคลอดบุตร และยังบัญญัติให้รัฐก�าหนดแนวนโยบายเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่สตรี
๒๒๑
ให้สามารถด�ารงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพและคุ้มครองป้องกันมิให้ถูกใช้ความรุนแรงหรือปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
๒๒๒
นอกจากนี้ ในปี ๒๕๖๐ รัฐยังได้ก�ากับหน่วยงานในระดับภูมิภาค ระดับท้องถิ่น ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด
ให้ด�าเนินการตามแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ท�างาน ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติ
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๘ เนื่องจาก กสม. มีข้อสังเกตว่า ยังพบปัญหาการล่วงละเมิดหรือ
๒๒๓
คุกคามทางเพศในการท�างานเกิดขึ้นอยู่ในองค์กรท้องถิ่น ๒๒๔
ตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑) แผนสิทธิมนุษยชนของกลุ่มสตรี ได้ระบุสภาพ
ปัญหาที่ส�าคัญของสตรีในประเทศไทยที่ส�าคัญ ๓ ประการ คือ (๑) การค้าสตรีและเด็ก (๒) การกระท�ารุนแรงต่อสตรี
ในครอบครัวและการคุกคามทางเพศในที่ท�างาน (๓) ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม ซึ่งรัฐได้ด�าเนินการด้านการแก้ไข
๒๒๕
ปัญหาความรุนแรงต่อสตรีในครอบครัว ผ่านการจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ตระหนักถึงความส�าคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครอง
ผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ และพัฒนาการด�าเนินงานเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านสังคมและ
กระบวนการยุติธรรมแก่ผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
๒๒๖
บทที่
๕
๒๑๗ ข้อ ๒๔ หน้า ๗ (CEDAW/C/THA/CO/6-7)
๒๑๘ ข้อ ๓๐ หน้า ๙ (CEDAW/C/THA/CO/6-7)
๒๑๙ มาตรา ๔
๒๒๐ มาตรา ๒๗
๒๒๑ มาตรา ๔๘
๒๒๒ มาตรา ๗๑
๒๒๓ เห็นชอบตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอ ดังนี้ (๑) เห็นชอบร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในการท�างาน และ
ให้หน่วยงานภาครัฐถือปฏิบัติ และ (๒) มอบหมายให้กระทรวงแรงงานขอความร่วมมือหน่วยงานภาคเอกชนรับร่างมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทาง
เพศในการท�างานไปด�าเนินการตามความเหมาะสม
๒๒๔ กระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๒๑๑.๓/ว๐๕๓๙ ลงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ เรื่อง การป้องกันและแก้ไขปัญหาการล่วงละเมิดหรือคุกคามทางเพศในที่ท�างาน
๒๒๕ ๒๕๕๖. กระทรวงยุติธรรม. แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๕๗ – ๒๕๖๑). หน้า ๗๒ – ๗๔.
๒๒๖ กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่ พม ๐๕๐๓/๕๙๐๒ ลงวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๐ เรื่อง ขอส่งข้อมูลผลการด�าเนินการตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ ๓.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 137