Page 139 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 139

อย่างไรก็ตาม รัฐได้ระบุปัญหา อุปสรรคที่ส�าคัญในการด�าเนินงานด้านการคุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงใน
           ครอบครัวของประเทศไทย ดังนี้ (๑) เรื่องทัศนคติของคนในสังคมที่ปลูกฝังความเชื่อระบบชายเป็นใหญ่ (๒) บุคลากรโดย
           เฉพาะเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระท�าความรุนแรงในครอบครัวยังขาดทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญในการ
           ท�างาน มีจ�านวนไม่เพียงพอ ขาดความมั่นคงในอาชีพ (๓) สถานที่ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน เช่น ไม่มีสถานที่ส�าหรับรองรับ

           ผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรง รวมถึงผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่ถูกค�าสั่งมาตรการคุ้มครองทางกฎหมาย
           (๔) ระบบการประสานงานส่งต่อยังไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความเชื่อมโยง (๕) งบประมาณที่จัดสรรไม่เพียงพอส�าหรับงาน
           ความรุนแรงในครอบครัวซึ่งมีขอบเขตกว้างขวางและเป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน ๒๒๗
                นอกจากนี้ ในปี ๒๕๖๐ รัฐได้ด�าเนินการจัดท�าแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ซึ่ง

           ได้ระบุวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการดังกล่าวว่า เพื่อพัฒนานโยบาย มาตรการและกลไกด้านการส่งเสริมความเสมอภาค
           ระหว่างสตรีและบุรุษในหน่วยงานภาครัฐ และจัดท�าแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔ ๒๒๘


           การประเมินสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค



                รัฐภาคีแห่งอนุสัญญา CEDAW มีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติหรือยอมรับที่จะปฏิบัติตามหรือมีมาตรการใด ๆ ทั้งทาง
           ด้านนิติบัญญัติ ด้านบริหาร และด้านตุลาการ ที่จะขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี  (discrimination against women)
                                                                           ๒๒๙
           ในทุกรูปแบบ เพื่อให้บรรลุถึงความเสมอภาคที่แท้จริงระหว่างสตรีและบุรุษ โดยตกลงที่จะบรรจุหลักการของความเสมอภาค

           ระหว่างสตรีและบุรุษไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งชาติตนหรือในบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เหมาะสมอื่น ๆ  ซึ่งประเทศไทย
                                                                                             ๒๓๐
           ในฐานะรัฐภาคีแห่งอนุสัญญา CEDAW ได้บรรจุหลักการดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
           ๒๕๖๐ โดยบัญญัติว่า บุรุษและสตรีมีสิทธิเท่าเทียมกัน
                นอกจากรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศยังมีกฎหมายส�าคัญซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างหลักประกัน

           แห่งความเท่าเทียมระหว่างสตรีและบุรุษ รวมถึงสร้างมาตรการคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ และ
           ป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ  คือ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘
                                                         ๒๓๑
           อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีประเด็นที่น่าห่วงใยอย่างยิ่ง (CEDAW/C/THA/CO/6-7, para. 8) เนื่องจาก
           ยินยอมให้มีการยกเว้นให้ไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศในมาตรา ๑๗ วรรคสอง ในกรณีการด�าเนิน

           การเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น หรือเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพ
           และความปลอดภัย หรือการปฏิบัติตามหลักศาสนา หรือเพื่อความมั่นคงของประเทศ ซึ่งการมีข้อยกเว้นดังกล่าวขัดกับ
           หลักการที่ว่า การเลือกปฏิบัติเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้และมนุษย์ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพโดยปราศจากความแตกต่าง
           ไม่ว่าชนิดใด ๆ รวมทั้งความแตกต่างเพราะเหตุแห่งเพศ ๒๓๒

                ปี ๒๕๖๐ รัฐได้น�ามาตรการเชิงบริหารมาใช้กับองค์กรท้องถิ่นเพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศในที่ท�างานซึ่งเป็นการ
           เลือกปฏิบัติทางเพศรูปแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงแนวปฏิบัติหรือแนวทางอย่างกว้าง ๆ ไม่ว่า
           จะเป็น มาตรการในการคุ้มครองผู้ร้องทุกข์และผู้เป็นพยาน รวมถึงมาตรการคุ้มครองผู้ถูกกล่าวหาด้วย ดังนั้น ในทาง
           ปฏิบัติจึงยากที่มาตรการดังกล่าวจะสามารถคุ้มครองผู้ที่ถูกละเมิดหรือถูกคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพ กสม. มีข้อเสนอ

           แนะเชิงนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับกรณีการคุกคามทางเพศในที่ท�างานไว้ว่า กรณีมีการตั้ง


           ๒๒๗  กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. เรื่องเดิม. หน้า ๗.
           ๒๒๘  กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดท�าแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ครั้งที่ ๒ ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๗
              มีนาคม ๒๕๖๐ ณ อิงธาร รีสอร์ท จังหวัดนครนายก.
           ๒๒๙  หมายถึง การแบ่งแยก การกีดกัน หรือการจ�ากัดใด ๆ เพราะเหตุแห่งเพศ ซึ่งมีผลหรือความประสงค์ที่จะท�าลายหรือท�าให้เสื่อมเสียการยอมรับการได้อุปโภคหรือใช้สิทธิโดยสตรี โดยไม่
              ค�านึงถึงสถานภาพด้านสมรส บนพื้นฐานของความเสมอภาคของบุรุษและสตรีของสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมพลเมือง หรือด้านอื่น ๆ.
              (CEDAW ข้อ ๑).
           ๒๓๐  CEDAW ข้อ ๒ (ก).
           ๒๓๑  หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘.
           ๒๓๒  CEDAW Preamble.

           138 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144