Page 137 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 137
ปี ๒๕๖๐ คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CEDAW ได้มีข้อสังเกตสรุปรวม (Concluding Observation)
๒๑๒
ต่อรายงานของประเทศไทยในการอนุวัติอนุสัญญา CEDAW ฉบับที่ ๖ – ๗ (ฉบับรวม) (ปี ๒๕๔๖ – ๒๕๕๓) ซึ่งรัฐได้
เสนอต่อคณะกรรมการฯ เมื่อปี ๒๕๕๘ โดยคณะกรรมการฯ ได้แสดงความยินดีต่อความก้าวหน้านับตั้งแต่การพิจารณา
รายงานของประทศไทยเมื่อปี ๒๕๔๙ ในด้านนิติบัญญัติ จากการด�าเนินการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมายภายในประเทศเพื่อ
ให้สอดคล้องตามพันธกรณีที่รัฐจะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ อาทิ พระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์
ในวัยรุ่น พ.ศ. ๒๕๕๙ พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติค�าน�าหน้านามหญิง พ.ศ.
๒๕๕๑ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และการแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๘
ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระท�าด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐ พระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๐ และ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๓)
๒๑๓
พ.ศ. ๒๕๕๘ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ วิธีการ
๒๑๔
ขังหรือจ�าคุก และการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังที่เป็นหญิงมีครรภ์
๒๑๕
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการฯ ได้แสดงความห่วงใยและมีข้อเสนอแนะที่ส�าคัญ ในประเด็นดังต่อไปนี้ (๑) กรอบ
รัฐธรรมนูญและกฎหมาย (๒) การเข้าถึงความยุติธรรมและการเยียวยา (๓) กลไกระดับชาติเพื่อความก้าวหน้าของสตรี
(๔) สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (๕) มาตรการพิเศษชั่วคราว (๖) เจตคติแบบเก่าและการปฏิบัติที่เป็นอันตราย
(๗) ความรุนแรงต่อสตรี (๘) สตรีและสันติภาพและความมั่นคง (๙) การค้ามนุษย์และการแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี
(๑๐) การมีส่วนร่วมในการด้านการเมืองและกิจการสาธารณะ (๑๑) สตรีนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (๑๒) สัญชาติ (๑๓) การศึกษา
(๑๔) การจ้างงาน (๑๕) สุขภาพ (๑๖) ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม (๑๗) สตรีในชนบท (๑๘) สตรีที่ถูกคุมขัง
(๑๙) มิติทางเพศสภาวะเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนและการลดภัยพิบัติ และ (๒๐) การแต่งงานและความสัมพันธ์ในครอบครัว ๒๑๖
๒๑๒ 2017. The Committee on the Elimination of Discrimination against Women. Concluding observations on the combined sixth and seventh periodic reports of
Thailand* (CEDAW/C/THA/CO/6-7).
๒๑๓ ยกเลิกความในมาตรา ๒๗๖ แห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๕ และมาตรา ๒๗๗ แห่งประมวล
กฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๘) พ.ศ. ๒๕๓๐
๒๑๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๗๗ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๕๐
๒๑๕ ปิยะลักษณ์ ทัฬหิกรณ์. การปฏิบัติต่อหญิงมีครรภ์ในระหว่างการด�าเนินคดีอาญา. จาก www.gotoknow.org/posts/490773. ค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐.
๒๑๖ 2017. The Committee on the Elimination of Discrimination against Women. Concluding Observations on the combined sixth and seventh periodic reports of
Thailand (CEDAW/C/THA/CO/6-7).
136 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐