Page 136 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 136

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ของบุคคล ๖ กลุ่ม


            ข้อเสนอแนะ



                  ด้านการลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กจากการจมน�้า และอุบัติเหตุทางถนน รัฐควรส่งเสริมมาตรการในการเสริมสร้าง
            ความรู้ความเข้าใจด้านความปลอดภัยให้กับเด็กในทุกระดับ อาทิ การสอนให้เด็กรู้วิธีการเอาชีวิตรอดเมื่อตกน�้า การสอน

            ให้เด็กรู้จักวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้อง  การป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุทางถนน  เป็นต้น
                                          ๒๐๙
                                                                             ๒๑๐
                  ด้านการคุ้มครองเด็กจากการถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศ รัฐพึงให้ความส�าคัญในการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นเหยื่อ
            ของการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ และมีมาตรการฟื้นฟูเด็กกลุ่มนี้อย่างเหมาะสม
                  ด้านการป้องกันการละเมิดสิทธิเด็กจากสื่อออนไลน์ รัฐควรศึกษาแนวทางที่เหมาะสมหรือแบบอย่างที่ดีในการ

            ป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กผ่านสื่อออนไลน์ ตลอดจนการร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อให้การแก้ไขปัญหา
            เป็นไปอย่างประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                  ด้านการคุ้มครองเด็กข้ามชาติ รัฐควรให้ความส�าคัญในการพัฒนาฐานข้อมูลเด็กข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
            เพื่อให้สามารถแสดงข้อมูลในมิติของจ�านวนที่แท้จริง พื้นที่ที่อาศัยอยู่ ผู้ที่ให้การปกครองดูแลและปัญหาที่พบ ซึ่งจะช่วย

            ให้ทราบถึงสภาพของปัญหา และน�าไปสู่การแก้ไข

            ๕.๒ สิทธิสตรี



            ภาพรวม



                  การส�ารวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร ปี ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ แสดงข้อมูลสถิติ ปี ๒๕๕๘ ของประเทศไทยว่า
            ประชากรทั่วราชอาณาจักร มีจ�านวน ๖๗,๒๒๘,๕๖๒ คน จ�าแนกเป็นบุรุษ ๓๒,๘๓๒,๖๘๗ คน สตรี ๓๔,๓๙๕,๘๗๕ คน

            และจากการส�ารวจประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป พบว่า สตรีมีการศึกษา ๓๑,๔๖๖,๓๒๗ คน ไม่มีการศึกษา ๖๕๗,๖๔๘ คน
            โดยเป็นสตรีที่สามารถอ่านออกและเขียนได้ ภาษาไทย ๓๐,๖๓๖,๐๗๐ คน ภาษาอื่น ๆ ๓๐,๖๓๖,๐๗๐ คน นอกจากนี้
            ผลส�ารวจประชากรอายุ ๑๓ ปีขึ้นไป จ�าแนกตามสถานภาพสมรส กลุ่มอายุ และเพศ พบว่า มีเด็กหญิงช่วงอายุ ๑๓ - ๑๔ ปี
            ที่เคยสมรส ๘,๑๒๔ คน โดยในที่นี้เป็นหม้าย ๓๒๔ คน แยกกันอยู่ ๒๘๗ คน ๒๑๑







                                                                                                                  บทที่
                                                                                                                   ๕




















            ๒๐๙  นายแพทย์อ�านวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “แถลงข่าว รณรงค์ป้องกันเด็กจมน�้า “ปิดล็อค...เด็กจมน�้าตามต้องเท่ากับศูนย์””
            ๒๑๐  นิตยา ภัทรธรรม ส�านักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค “ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการด�าเนินงานป้องกันการบาดเจ็บ”
            ๒๑๑  ส�านักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการส�ารวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร ปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๙ [จัดท�า : ทุก ๑๐ ปี]. จาก http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-1-16.html.
                สืบค้นเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐.

                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 135
   131   132   133   134   135   136   137   138   139   140   141