Page 135 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 135
การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค
จากการด�าเนินนโยบาย มาตรการ ตลอด
จนการแก้ไขกฎหมายของรัฐในปี ๒๕๖๐ ถือเป็น
สถานการณ์เชิงบวกที่แสดงให้เห็นว่า รัฐให้ความ
ส�าคัญและพยายามด�าเนินการต่าง ๆ ที่เป็นการส่ง
เสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับข้อห่วง
กังวลของคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CRC
และยังมีมาตรการในการด�าเนินการเพื่อป้องกัน
และแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมี
สถานการณ์ที่น่าห่วงกังวล ดังนี้
๑. การลดอัตราการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บของเด็ก แม้ว่าตัวเลขการเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากการจมน�้า
และอุบัติเหตุทางท้องถนนของเด็กในปี ๒๕๖๐ จะลดลงเมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๙ แต่ตัวเลขความสูญเสียยังคงอยู่ในอัตราที่สูง
และไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะส�าคัญที่แสดงให้เห็นว่าการแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าวเห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม
๒. แนวโน้มในการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าประเวณีของเด็ก ทั้งในมิติด้านอายุ ซึ่งพบว่ามีเด็กอายุเพียง ๑๓
ปี เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง และมิติของการท�าหน้าที่เป็นผู้จัดหาของเด็ก
๓. การเฝ้าระวังปัญหาสื่อลามกเด็ก จากข้อมูลที่ระบุว่า มีสื่อลามกอนาจารและการแสวงหาก�าไรจากเด็กบนระบบ
อินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้น และในประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖๗ นั้น เป็นเรื่องที่จ�าเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
เพราะนอกจากปัญหาสื่อลามกเด็กจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และแสวงหาประโยชน์จากเด็กแล้ว ยังอาจก่อให้เกิด
ปัญหาอื่น ๆ ตามมา อาทิ ปัญหาอาชญากรรม การข่มขืน การกระท�าอนาจารเด็ก ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และ
พฤติกรรมเลียนแบบ เป็นต้น
๔. การขาดฐานข้อมูลเด็กข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของกลุ่มที่เข้ามาอย่างถูกต้องตาม
กฎหมาย และไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่งผลให้เด็กข้ามชาติบางส่วนอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยปราศจากการระบุตัวตน
ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกกระท�าการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๕. การคุ้มครองเด็กที่เป็นผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบจากการประกาศใช้พระราชก�าหนดการ
บริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐
134 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐