Page 134 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 134

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ของบุคคล ๖ กลุ่ม



            สื่อลามก ๑๘ คดี คดีการแสวงประโยชน์ทางเพศในเด็ก ๔ คดี และคดีค้ามนุษย์ ๓ คดี นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือ
            เด็ก (ACT) ๓ ศูนย์ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี และภูเก็ต เพื่อเป็นที่พักและช่วยเหลือดูแลเด็กที่ถูกแสวงประโยชน์ทางเพศ
            หรือถูกละเมิดอย่างครอบคลุม และ ACT ได้ร่วมกับ TICAC ในการหาตัวผู้กระท�าผิดมาลงโทษตามกฎหมายด้วย ๒๐๖



            ๔. สถานการณ์เด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน
                  สถานการณ์เด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน ในปี ๒๕๖๐ ยังคงประสบกับปัญหาใน
            ประเด็นที่ไม่แตกต่างไปจากปีที่ผ่านมา  โดยเด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานยังคงประสบ
                                            ๒๐๗
            กับข้อจ�ากัดต่าง ๆ อาทิ การขาดเอกสารพิสูจน์ตัวตน (ใบเกิด) การก�าหนดสถานะทางบุคคล การเข้าถึงการศึกษา และการ

            เข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข จากสถิติล่าสุดถึงปี ๒๕๕๙ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่ามีคนต่างด้าว
            ชาวเมียนมา กัมพูชา และลาว เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ๑,๐๖๗,๔๑๐ คน ในจ�านวนนี้
            เป็นผู้ติดตามซึ่งอายุน้อยกว่า ๑๘ ปี จ�านวน ๒๒,๘๐๗ คน ซึ่งมีความเสี่ยงและมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแรงงานเด็กใน
            กิจการต่าง ๆ  นอกจากนี้ ยังมีจ�านวนผู้ติดตามที่อายุน้อยกว่า ๑๘ ปี และเด็กข้ามชาติที่ลักลอบเข้ามาอยู่ในประเทศไทย
                       ๒๐๘
            โดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งยังไม่สามารถระบุตัวเลขได้อย่างแน่ชัด โดยเด็กข้ามชาติในกลุ่มนี้นอกจาก
            จะประสบกับข้อจ�ากัดข้างต้นแล้ว ยังเสี่ยงต่อการถูกกระท�าการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการแสวงประโยชน์
            ในลักษณะต่าง ๆ อาทิ การค้ามนุษย์ ขบวนการยาเสพติด เป็นต้น



























                                                                                                                  บทที่
                                                                                                                   ๕
                  ในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่ง
            เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อให้สามารถท�าการจัดระเบียบ การป้องกัน การคุ้มครอง การเยียวยา และการบังคับใช้กฎหมาย
            รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าวได้ทั้งระบบ และ
            เป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านแรงงาน เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยในช่วงแรกของการประกาศใช้กฎหมายฉบับ

            ดังกล่าว ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายเดินทางออกจากไปจากประเทศไทยเป็น
            จ�านวนมาก ทั้งนี้ มีข้อกังวลจากหลายฝ่ายว่าการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าวโดยทันทีอาจส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ
            และสังคมของประเทศ รัฐบาลจึงได้ขยายเวลาในการประกาศใช้กฎหมายออกไปอีก ๑๘๐ วัน เพื่อให้แรงงานต่างด้าว และ
            นายจ้างด�าเนินการเรื่องต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย




            ๒๐๖  เบนาร์นิวส์. “ประเทศไทย: สื่อลามกเด็กออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ยูเอ็นโอดีซีกล่าว” เข้าถึงได้จาก www.benarnews.org/thai/news/TH-sexual-abuse-10182017182946.html
            ๒๐๗  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ปี ๒๕๕๙
            ๒๐๘  เบนาร์นิวส์.“นักสิทธิแรงงานผลักดันการศึกษาให้เด็กข้ามชาติ” เข้าถึงได้จาก : www.benarnews.org/thai/news/TH-children-education-06162017164034.html


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 133
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139