Page 133 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 133

๒. สถานการณ์การแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
                ในปี ๒๕๖๐ ปรากฏสถานการณ์ที่สังคมให้ความสนใจเป็นวงกว้างเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็ก
           หลายกรณี ได้แก่ กรณีการค้าประเวณีในจังหวัด
           แม่ฮ่องสอน ที่มีเด็กอายุต�่ากว่า ๑๘ ปี ค้าบริการทางเพศ

           และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง กรณีการ
           จับกุมผู้ต้องหาในคดีค้าประเวณีเด็กในพื้นที่ อ�าเภอ
           บางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยผู้ต้องหาท�าหน้าที่ในการ
           จัดหาเด็กที่มีอายุต�่ากว่า ๑๘ ปี เพื่อให้บริการทางเพศ

           โดยเปิดร้านนวดแผนโบราณบังหน้า  และกรณี
                                          ๒๐๒
           การจับกุมผู้ต้องหาในคดีค้าประเวณีเด็กในพื้นอ�าเภอ
           ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งกรณีนี้ พบว่า เด็กหญิง
           ที่ค้าประเวณีมีอายุเพียง ๑๓-๑๕ ปี โดยมีเด็กหญิง

           อายุ ๑๕ ปี ท�าหน้าที่เป็นผู้จัดหา ๒๐๓


           ๓. สถานการณ์เด็กกับสื่อออนไลน์
                ข้อมูลจากส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ

           และสังคม ระบุว่า เด็กไทยช่วงอายุ ๐ - ๑๖ ปี  ใช้เวลาในการเล่นสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Line
                                                ๒๐๔
           มากเป็นอันดับ ๑ โดยมีจ�านวนชั่วโมงการใช้อินเทอร์เน็ต โดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๓ ชั่วโมง ๔๒ นาทีต่อวัน รองลงมาเป็นการดูโทรทัศน์
           ดูภาพยนตร์ ฟังเพลงทางออนไลน์ (เฉลี่ย ๓ ชั่วโมงต่อวัน) เล่นเกมออนไลน์ (เฉลี่ย ๒ ชั่วโมง ๔๘ นาทีต่อวัน) และอ่าน
           หนังสือออนไลน์ (เฉลี่ย ๒ ชั่วโมงต่อวัน)

                นอกจากนี้ ผลการส�ารวจเรื่อง “สื่อสังคมออนไลน์ กับอนาคตเด็กและเยาวชนไทย” ของสถาบันบัณฑิต
           พัฒนบริหารศาสตร์ ระบุว่า สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ๔ อันดับแรก ได้แก่ สื่อออนไลน์ที่มีความรุนแรง ร้อยละ
           ๘๑.๐๔ สื่อออนไลน์ประเภทการพนัน ร้อยละ ๗๗.๕๓ สื่อออนไลน์ประเภทฆาตกรรม ร้อยละ ๖๘.๐๔ และสื่อออนไลน์
           ประเภทสื่อลามกอนาจาร เช่น รูปภาพ วีดีโอ ร้อยละ ๖๕.๕๙ ตามล�าดับ โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ระบุว่า ไม่เคยเข้าไปชม

           และในกลุ่มที่เคยเข้าไปชมส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าอยากรู้ อยากเห็นมากที่สุด นอกนั้นเป็นเหตุผลอื่น อาทิ มีคนโพสต์ใน
           อินเทอร์เน็ต/สื่อสังคมออนไลน์ ต้องการรับรู้เหตุการณ์/ข่าวที่เกิดขึ้นในสังคมเห็นในสื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และเพื่อน
           ชักชวน ๒๐๕
                ในมิติการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กผ่านสื่อลามกอนาจาร ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของส�านักงานป้องกันยาเสพติด

           และปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ระบุว่า มีสื่อลามกอนาจารและการแสวงหาก�าไรจากเด็ก
           บนระบบอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นมากเป็นประวัติการณ์ โดยมีการอัพโหลดข้อมูลทาง “เน็ตมืด (Dark Nets)” ที่ตรวจจับได้ยาก
           และถ้าตรวจพบกฎหมายก็ท�าได้เพียงปิดเว็บไซต์ ไม่สามารถเอาผิดผู้อยู่เบื้องหลังได้ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
           มีจ�านวนอยู่ที่ประมาณร้อยละ ๕๐ แต่ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๕๘ ในฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการ

           ล่วงละเมิดทางเพศ ส่วนในประเทศไทยมีเพิ่มขึ้นถึงประมาณร้อยละ ๖๗
                อย่างไรก็ดี รัฐได้มีการจัดตั้งคณะท�างานปราบปรามอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดเด็ก
           และเยาวชน (TICAC) โดยส�านักงานต�ารวจแห่งชาติร่วมกับส�านักงานสอบสวนกลาง สหรัฐอเมริกา (FBI) และส�านักงาน
           สืบสวนความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (HSI) โดยคดีที่พบและสอบสวนโดย TICAC มีจ�านวน ๒๕ คดี เป็นคดีการใช้เด็กเพื่อผลิต


           ๒๐๒  ผู้จัดการออนไลน์ “รวบเจ้าของร้านนวด “มิสมาสสาจ” เปิดนวดแผนไทยแฝงค้ากาม” เข้าถึงได้จาก www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9600000079011
           ๒๐๓  กรุงเทพธุรกิจ “จับแม่เล้าวัย ๑๕ ลวงดญ. ๑๔ ปี ค้ากามโคราชครั้งละ ๑,๒๐๐ บ.” เข้าถึงได้จาก www.bangkokbiznews.com/news/detail/756201
           ๒๐๔  เด็กที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นมา (Gen Z)
           ๒๐๕  จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .“สื่อสังคมออนไลน์ กับอนาคตเด็กและเยาวชนไทย” เข้าถึงได้จาก http://nidapoll.nida.ac.th/file_upload/poll/document/20170331025107.pdf


           132 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138