Page 131 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 131
ความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก อัตราโทษ
๑. การจ้างแรงงานเด็กอายุต�่ากว่าที่กฎหมายก�าหนดเข้าท�างาน ปรับตั้งแต่ ๔ แสน ถึง ๘ แสนบาท ต่อลูกจ้างหนึ่งคน หรือ
๒. การให้ลูกจ้างเด็กท�างานอันตราย จ�าคุกไม่เกินสองปี หรือทั้งจ�าทั้งปรับ
๓. การให้ลูกจ้างเด็กท�างานในสถานที่ห้ามท�า
นอกจากนี้ กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างเด็กท�างานอันตรายหรือสถานที่ที่ห้ามท�าจนเป็นเหตุให้ลูกจ้างเด็กได้รับอันตราย
แก่กายหรือจิตใจหรือถึงแก่ความตาย นายจ้างจะได้รับโทษเพิ่มมากขึ้นคือ ปรับตั้งแต่ ๘ แสนบาท ถึง ๒ ล้านบาท ต่อลูกจ้าง
๑ คน หรือจ�าคุกไม่เกิน ๔ ปี หรือทั้งจ�าทั้งปรับ
๓. พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๙๗
รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ แทนพระราชบัญญัติ
ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติฉบับเดิม โดยมีเจตนารมณ์เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนทุกระดับ มีส่วนร่วม
ในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม โดยบัญญัติให้มีสภาเด็กและเยาวชนในระดับต�าบลหรือเทศบาล และเพิ่มอ�านาจ
หน้าที่ของสภาเด็กและเยาวชนทุกระดับในการส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความคิดเห็นหรือแสดงออก
อย่างสอดคล้องกับความรู้ความสามารถที่พัฒนาไปตามวัยของเด็กหรือเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็กและ
เยาวชน ตลอดจนอ�านาจหน้าที่ในการเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐองค์กร
เอกชนหรือองค์กรชุมชนที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน
๔. พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๙๘
รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมให้ทารกและเด็กเล็กได้รับนมแม่อย่างเหมาะสม โดยควบคุมการส่งเสริมการตลาด และ
๑๙๗ พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๑๙๘ พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นก�าหนด
หกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยพระราชบัญญัติฯ ได้ก�าหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารกและเด็กเล็ก (คสตท.) โดยมีอ�านาจหน้าที่
ในการ:
- ก�าหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารก อาหารส�าหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมส�าหรับทารก
- ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาระบบในการเฝ้าระวังการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารก อาหารส�าหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมส�าหรับทารก
- ให้ค�าแนะน�าหรือความเห็นแก่คณะรัฐมนตรีในการออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
- ให้ค�าแนะน�าหรือความเห็นแก่รัฐมนตรีในการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารส�าหรับทารก อาหารส�าหรับเด็กเล็ก และอาหารเสริมส�าหรับทารก เพี่อให้การด�าเนินการเป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายก�าหนดให้เป็นอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีมอบหมาย
130 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐