Page 130 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 130

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน
                                                                                 ของบุคคล ๖ กลุ่ม


            ๕.๑ สิทธิเด็ก



            ภาพรวม



                  ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรเด็ก (อายุ ๐ - ๑๗ ปี) จ�านวน ๑๓,๗๓๐,๙๒๗ คน  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                                                                                ๑๙๒
            พุทธศักราช ๒๕๖๐ และอนุสัญญา CRC ได้ให้การรับรองสิทธิของเด็ก โดยที่ผ่านมาคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CRC มี
            ข้อห่วงกังวลต่อสถานการณ์เด็กในประเทศไทยในเรื่องต่าง ๆ อาทิ ภาวะทุพโภชนาการ การไม่มีกฎหมายก�ากับการโฆษณา
            ผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ การปกป้องคุ้มครองเด็กจากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ การคุ้มครองเด็กจากความรุนแรง

            การคุ้มครองเด็กเคลื่อนย้ายและเด็กที่เป็นบุตรของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บในเด็ก
            และการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมและสามารถใช้ในการวิเคราะห์ประเมินความก้าวหน้าของงานสิทธิเด็ก
            เป็นต้น ในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้มีการด�าเนินนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่ส่งเสริมคุ้มครองสิทธิเด็กหลายประการ ดังนี้
                  ๑๙๓


            ๑. โครงการอุดหนุนเด็กแรกเกิด ๑๙๔
                  สืบเนื่องจากปี ๒๕๕๙ รัฐบาลได้ขยายเวลาให้ผู้ที่มีก�าหนดคลอดหรือเด็กที่เกิดในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐
            (๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐) สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับสิทธิ์ตามโครงการ โดยก�าหนดให้ลงทะเบียนได้
            ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๙ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ นั้น ปรากฏจ�านวนผู้ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์ ๑๘๓,๓๔๘ คน โดยที่

            ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่มีผู้มาลงทะเบียนขอรับสิทธิ์มากที่สุด รองลงมาคือภาคใต้ และภาคเหนือ ในด้านของ
            อาชีพพบว่า ร้อยละ ๖๖.๒๗ ของผู้ลงทะเบียนขอรับสิทธิ์เป็นผู้ว่างงาน รองลงมาคือ เกษตรกรและรับจ้าง ตามล�าดับ ๑๙๕


            ๒. พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๙๖

                  รัฐบาลได้แก้ไขบทบัญญัติในกฎหมายดังกล่าว โดยก�าหนดเพิ่มอัตราโทษส�าหรับความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงาน
            เด็กให้เพิ่มสูงขึ้น การจ้างแรงงานเด็กตามกฎหมายดังกล่าวเป็นกรณีการจ้างแรงงานเท่านั้น ไม่ได้หมายรวมถึงการที่พ่อแม่
            ผู้ปกครองให้เด็กท�างานในครอบครัว หรือช่วยงานในกิจการ การเพิ่มอัตราโทษส�าหรับความผิดเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก
            ตามกฎหมายฉบับนี้มี ๓ กรณี ดังนี้







                                                                                                                  บทที่
                                                                                                                   ๕
















            ๑๙๒  กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
            ๑๙๓  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๕๙ หน้า ๑๙๐ – ๑๙๓
            ๑๙๔  โครงการอุดหนุนเด็กแรกเกิด มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการจัดสวัสดิการพื้นฐานเพื่อสร้างระบบการคุ้มครองทางสังคมและเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้เด็กแรกเกิดได้รับการเลี้ยงดูที่มี
                คุณภาพ รวมทั้งเป็นมาตรการจูงใจให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก น�าเด็กเข้ารับบริการทางสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเป็นระบบ
            ๑๙๕  ข้อมูล ณ วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๐ “ผลการด�าเนินงานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ปีงบประมาณ ๒๕๖๐” https://dbms.dcy.go.th/csg-infomation/index.
                php?year=2560
            ๑๙๖  พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๐ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นก�าหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 129
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135