Page 129 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 129

บทที่ ๕ การประเมินสถานการณ์

           ด้านสิทธิมนุษยชนของบุคคล ๖ กลุ่ม








                               การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคลในส่วนนี้จะพิจารณามิติ

                         สิทธิมนุษยชนของบุคคล ๖ กลุ่ม ซึ่งมีลักษณะของประเด็นร่วม (cross-cutting issues)
                         อยู่ในหลักตัวชี้วัด (indicators) ตามสิ่งที่รัฐต้องเคารพ ให้การคุ้มครอง และด�าเนินการ
                         ให้เกิดขึ้นตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้กติกา ICCPR อนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CPED
                         และหลักเกณฑ์ (benchmarks) ตามสิ่งที่รัฐพึงเคารพ ให้การคุ้มครอง และด�าเนินการให้
                         เกิดขึ้นตามมาตรฐานที่ก�าหนดไว้กติกา ICESCR โดยเน้นความส�าคัญหรือความต้องการ

                         เฉพาะของบุคคลแต่ละกลุ่มเทียบเคียงในสนธิสัญญาหลักด้านสิทธิมนุษยชนอื่น  ๆ  ที่
                         ประเทศไทยเป็นภาคี  และมีมิติเฉพาะที่เชื่อมโยงกับกลุ่มบุคคลนั้น  ๆ  ได้แก่  อนุสัญญา
                         CRC ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มเด็ก อนุสัญญา CEDAW ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มสตรี อนุสัญญา

                         CRPD ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนพิการ อนุสัญญา CERD ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธุ์
                         ชนพื้นเมือง คนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และประชากรข้ามชาติ ในขณะที่มีสถานการณ์ข้อเท็จจริง
                         ของประชากรอีก  ๒  กลุ่ม  ที่มีกระบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม  เป็นประเด็นร่วมของ
                         ประชาคมโลกและสอดคล้องกับบริบทในประเทศไทย คือ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มวิถีทางเพศ
                         และอัตลักษณ์ทางเพศ





                การประเมินสถานการณ์ในมิติของกลุ่มบุคคลเป็นความพยายามในการตรวจสอบอย่างละเอียด เพื่อค้นหาปัญหา
           อุปสรรค และจัดท�าข้อเสนอแนะที่มีความเหมาะสม และสะท้อนถึงมาตรการและการบริหารจัดการด้านสิทธิของบุคคล

           แต่ละกลุ่มให้เป็นจริง รวมถึงการก�าหนดมาตรการเสริม (affirmative actions) เพื่อช่วยให้บุคคลกลุ่มนั้น ๆ เข้าถึง
           สิทธิขั้นพื้นฐานได้ในสถานการณ์ หรือข้อจ�ากัดที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน และ/หรือหลีกเลี่ยง บรรเทา หรือลดการกระท�าที่ท�าให้เกิด
           การเลือกปฏิบัติแบบซ�้าซ้อน (multiple discrimination) และค�านึงถึงความแตกต่างหลากหลายของอัตลักษณ์ที่ทับซ้อน
           และเชื่อมโยงกัน (intersectionality) ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากลักษณะที่ติดตัวมาจากชีวภาพ หรือการถือก�าเนิด และลักษณะที่

           ติดตามมาจากการสร้างการรับรู้ หรือการให้ความหมายเชิงคุณค่าทางสังคม และวัฒนธรรม โดยหลักการนี้ได้บัญญัติไว้ใน
           รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
           มาตรา ๒๗ และหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ
                ในปี ๒๕๖๐ กสม. ประมวลภาพรวม พร้อมประเมินสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค และมีข้อเสนอแนะด้านสิทธิ

           ของบุคคลใน ๖ กลุ่มหลัก ดังนี้
















           128 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134