Page 116 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 116
บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม
๒. รัฐควรพิจารณาเรื่องการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ เป็นวาระเร่งด่วนเพื่อเป็นการแสดง
เจตนารมณ์ที่ชัดเจนที่จะมุ่งมั่นคุ้มครองสิทธิแรงงานอย่างแท้จริง โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติควรเร่งการพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังควรมีแผนการด�าเนินงานภายหลังจากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาโดยก�าหนดกรอบเวลา
อย่างชัดเจน เพื่อให้สิทธิของแรงงานตามที่ได้รับรองในอนุสัญญาเกิดผลในทางปฏิบัติจริง
๓. รัฐควรตรวจสอบค่าจ้างขั้นต�่าของกลุ่มเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่มีนายจ้างตามเงื่อนไขของมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ หากพบว่ากลุ่ม
ลูกจ้างเหล่านั้นได้รับค่าจ้างขั้นต�่าซึ่งต�่ากว่าที่คณะกรรมการค่าจ้างก�าหนด รัฐควรพิจารณาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ต่อไป นอกจากนี้ ยังควรก�าหนดให้มีกลไกที่สนับสนุนให้มีการตรวจสอบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการท�างาน เพื่อป้องกันปัญหา
การละเมิดสิทธิแรงงานที่อาจเกิดขึ้น โดยค�านึงว่าจะไม่สร้างภาระให้ผู้ประกอบการเพิ่ม
๔.๓ สิทธิด้านสุขภาพ
ภาพรวม
ประเทศไทยเป็นภาคีกติกา ICESCR ซึ่งก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ตามมาตรฐานสูงสุดที่เป็นไปได้ และมีขั้นตอนในการด�าเนินการเพื่อบรรลุผลในการท�าให้สิทธิเป็นจริงอย่างสมบรูณ์
๑๓๑
สิทธิด้านสุขภาพมีองค์ประกอบที่ส�าคัญได้แก่ ความมีอยู่ (availability) การเข้าถึงได้ (accessibility) การยอมรับได้
(acceptability) และคุณภาพ (quality) โดยรัฐมีหน้าที่ในการจัดการบริการให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้อย่างเพียงพอและ
เหมาะสมตามระดับการพัฒนาประเทศและมีคุณภาพการบริการที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑๓๒
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ก�าหนดให้รัฐด�าเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง และการให้
บริการสาธารณสุขจะต้องมีการพัฒนาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงให้รัฐด�าเนินการปฏิรูปด้าน บทที่
สาธารณสุขโดยปรับหลักประกันสุขภาพเพื่อให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการ และการเข้าถึง ๔
บริการที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน ตลอดจนมีระบบการแพทย์ปฐมภูมิที่ดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ๑๓๓
ในปี ๒๕๖๐ ประเทศไทยมีนโยบาย กฎหมาย มาตรการและกลไกต่าง ๆ ที่มุ่งให้เกิดความก้าวหน้าทางสิทธิด้าน
สุขภาพในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐ และการลดความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ
โดยสามารถสรุปสาระส�าคัญตามที่ปรากฏในตาราง ๒
๑๓๑ ข้อ ๑๒ แห่งกติกา ICESCR.
๑๓๒ The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. (2017). CESR General Comment No. 14 : The Rights to Higher Attainable Standard of
Health (Article 12) adopted at the 22nd Session of the Committee on Economic Social and Culture Rights, 11 August 2000 UN Doc. E/C.12/2000/4 para 4 ,
8, 9, 12 and 13. Retrieved from http://tbinternet.ohchr.org/SitePages/Home.aspx
๑๓๓ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๕ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ บัญญัติว่า รัฐต้องด�าเนินการให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
เสริมสร้างให้ประชาชนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค และส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยให้เกิดประโยชน์สูงสุด (วรรคหนึ่ง)
บริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่ง ต้องครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุม และการป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพด้วย (วรรคสอง) รัฐต้องพัฒนาการบริการ
สาธารณสุขให้มีคุณภาพและมีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (วรรคท้าย) และ หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ มาตรา ๒๕๘ (ช)(๔) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐
บัญญัติว่า ให้ด�าเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยในด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ปรับระบบหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนได้รับสิทธิและประโยชน์จากการบริหารจัดการและการเข้าถึงบริการ
ที่มีคุณภาพและสะดวกทัดเทียมกัน.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 115