Page 112 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 112
บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม
มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐ กระทรวงแรงงานได้ก�าหนดให้การส่งเสริม
ความปลอดภัยอาชีวอนามัยเป็นหนึ่งในแผนปฏิบัติการ ๘ วาระปฏิรูปแรงงาน โดยข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครอง
แรงงาน (กสร.) ระบุว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐ ช่วง ๖ เดือนแรก (วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐)
เปรียบเทียบในห้วงวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๘ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ พบอัตราการประสบอันตรายจากการท�างานของลูกจ้าง
กรณีร้ายแรงเท่ากับ ๑.๓๙ ต่อ ๑,๐๐๐ ราย ลดลงร้อยละ ๗.๕๖ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ซึ่งลดลงเกินกว่าเป้าหมายของ กสร. ที่ตั้งไว้ว่าลดลงอย่างน้อยร้อยละ ๕ ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีการก�าหนดให้มีมาตรการ
๑๒๑
๓-๓-๒ เพื่อสนับสนุนการด�าเนินการตามแผนปฏิบัติการ ๘ วาระปฏิรูปแรงงาน โดยมุ่งเน้นการคุ้มครองอันตรายที่เกิดขึ้น
จากการท�างานในแต่ละประเภทของสถานประกอบการตามช่วงระยะเวลาของปี
๑๒๒
การก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครอง
สิทธิในการรวมตัวกัน ค.ศ. ๑๙๔๘ และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง ค.ศ. ๑๙๔๙ ซึ่งถือเป็น
๒ ใน ๘ อนุสัญญาหลัก โดยอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับอนุสัญญาฯ
ส�าหรับความคืบหน้าการด�าเนินการเรื่องการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ....
และร่างพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. .... นั้น ได้ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเรียบร้อยแล้ว
เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๖๐ โดยร่างกฎหมายทั้งสองฉบับอยู่ระหว่างการพิจารณาก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็น
ชอบหลักการต่อไป ซึ่งกระทรวงแรงงานได้ก�าหนดกรอบระยะเวลาการด�าเนินการเกี่ยวกับการออกกฎหมายโดยคาดว่า
คณะกรรมาธิการวิสามัญในสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะพิจารณาร่างกฎหมายทั้งสองฉบับแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม
๒๕๖๑ และเมื่อมีความพร้อมทางด้านกฎหมายแล้ว จึงจะด�าเนินการเกี่ยวกับการเสนอให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ดังกล่าว
การคุ้มครองสิทธิของแรงงานนอกระบบ
ประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบซึ่งเป็นผู้มีงานท�าที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจาก
การท�างานสูงกว่าร้อยละ ๕๐ ของจ�านวนผู้มีงานท�า ซึ่งผลการด�าเนินการคุ้มครองแรงงานนอกระบบในปีที่ผ่านมา รัฐบาล บทที่
๑๒๓
๔
ได้ด�าเนินการเพื่อเพิ่มการคุ้มครองสิทธิของแรงงานนอกระบบ เช่น ส่งเสริมการเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ
ฝึกและส่งเสริมอาชีพตามโครงการจ้างงานเร่งด่วนและพัฒนาทักษะฝีมือ ออกประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เรื่อง แนวปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�างานส�าหรับแรงงานนอกระบบ
๑๒๔
โดยในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้ด�าเนินมาตรการการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องการขยาย
ความคุ้มครองหลักประกันสังคม โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐ เห็นชอบร่างกฎหมายล�าดับรอง
ที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ จ�านวน ๓ ฉบับ ได้แก่ (๑) ร่างพระราชกฤษฎีกาก�าหนด
คุณสมบัติของบุคคลซึ่งอาจสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... (๒) ร่างพระราชกฤษฎีกาก�าหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินสมทบ
ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทน พ.ศ. .... และ (๓) ร่างกฎ
กระทรวงก�าหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมส�าหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. ....
ซึ่งร่างกฎหมายทั้งสามฉบับมีสาระส�าคัญเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน มาตรา ๔๐ ที่เป็นแรงงานนอกระบบ
อาทิ แรงงานไม่มีนายจ้าง พ่อค้าแม่ค้า คนขับแท็กซี่หรือมอเตอร์ไซค์รับจ้าง อาชีพอิสระ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ใกล้เคียง
๑๒๑ กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (๒๕๖๐). บทความเรื่องกระทรวงแรงงานเผยสถิติประสบอันตรายลดลงเกินเป้า ประจ�าวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ข่าวที่
๑๙๑/๒๕๖๐. สืบค้นจาก www.labour.go.th/th%20/index.php?option=com_content&view=article&id=35315:2560-05-08-03-05-19&catid=1:2011-03-31-03-24-
26&Itemid=88
๑๒๒ ๑.กิจการที่มีการใช้ปั้นจั่นหรือเครน ๒.กิจการที่มีการใช้สารเคมี ๓.กิจการขนส่งทางบก ๔.กิจการที่มีการใช้แรงงานเด็ก ๕.กิจการเกี่ยวกับประมงและต่อเนื่อง ๖.กิจการที่มีการใช้เครื่องบด/
เครื่องตัดโลหะ ๗.กิจการที่มีการท�างานในที่อับอากาศ ๘.กิจการที่มีการท�างานในที่สูง ๙. กิจการก่อสร้าง และ ๑๐.การป้องกันและระงับอัคคีภัย.
๑๒๓ การส�ารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยส�านักงานสถิติแห่งชาติ.
๑๒๔ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (TPBS). (๒๕๖๐). ขยายความคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ม.๔๐ เพิ่มอีก ๑.๕ ล้านคน. สืบค้นจาก http://news.thaipbs.or.th/
content/260202
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 111