Page 121 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 121

สุขภาพแห่งชาติ จะได้ด�าเนินการหาโรงพยาบาลมารองรับแล้วก็ตาม  รวมถึงผู้มีสิทธิในระบบประกันสังคมราว ๑๘๐,๐๐๐ คน
                                                              ๑๖๕
           ก็อาจจะได้รับผลกระทบในการเข้าถึงการบริการเนื่องจากโรงพยาบาลเอกชนอีก ๔ แห่งขอถอนตัวออกเช่นกัน
                                                                                                    ๑๖๖
                แม้ว่ารัฐบาลจะประกันสิทธิด้านสุขภาพให้กับประชากรทั้งประเทศ แต่ยังพบว่า มีประชากรส่วนหนึ่งที่ยังเข้าไม่ถึง
           ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  แต่ยังพบว่า มีข้อท้าทายในประเด็นสิทธิด้านสุขภาพ ดังต่อไปนี้
                                       ๑๖๗


                •  ความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐในมิติของการเข้าถึงทางเศรษฐกิจ
           (economic accessibility) โดยระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระบบประกันสังคม ซึ่งเป็นระบบการจ่ายเงินแก่
           ผู้มีสิทธิแบบเหมาจ่ายรายหัว ในขณะที่ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ เป็นระบบการเบิกจ่ายแบบปลายเปิด

           หรือจ่ายตามบริการ (fee-for-service) เนื่องจากกลไกการจ่ายเงินที่แตกต่างกันท�าให้ผู้มีสิทธิตามระบบสวัสดิการข้าราชการ
           มีก�าลังจ่ายมากกว่าระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและระบบประกันสังคม นอกจากนี้ กฎหมายยังก�าหนดให้ผู้ประกันตน
           ตามระบบประกันสังคมต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนจึงจะเกิดสิทธิ ในขณะที่ไม่พบกฎหมายในลักษณะเดียวกันในระบบ
           หลักประกันสุขภาพแห่งชาติและระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ  ซึ่งข้อเท็จจริงเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุ
                                                                            ๑๖๘
           น�าไปสู่ความเหลื่อมล�้าหรือความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ รวมถึงอาจกลายเป็นการเลือกปฏิบัติ
           ด้วยเหตุแห่งสถานะทางเศรษฐกิจได้


                •  การเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพในกลุ่มเปราะบาง (vulnerable) และ/หรือกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ (underutilization)

           คณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR มีข้อกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสและกลุ่มคนชายขอบ
           โดยเฉพาะผู้แสวงหาที่พักพิงและผู้ลี้ภัย  และคณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CEDAW มีข้อกังวลเกี่ยวกับขีดจ�ากัด
                                           ๑๖๙
           ในการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพของสตรีในกลุ่มเปราะบางที่เป็นชนกลุ่มน้อย กลุ่มพื้นเมืองดั้งเดิมหรือกลุ่มคนไร้สัญชาติ
                                                                                                          ๑๗๐
           ในประเด็นดังกล่าว กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข

           ให้กลุ่มเด็กนักเรียนไร้สัญชาติ และไม่มีหลักฐานทางทะเบียน และกลุ่มคนดั้งเดิมที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่มีชื่ออยู่ในทะเบียน
           ราษฎรจ�านวน ๕๕๒,๔๙๓ คน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๐  ส�าหรับเด็กไม่ได้รับการคืนสิทธิ ภาคประชาสังคมได้เรียก
                                                              ๑๗๑
           ร้องให้รัฐบาลหาแนวทางในการท�าให้เข้าถึงสิทธิโดยการท�าประกันสุขภาพในราคาที่สามารถจ่ายได้  และกลุ่มคนที่เข้าไม่
                                                                                         ๑๗๒
           ถึงบริการ เช่น กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง ทั้งนี้ ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพ

           ระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ร่วมกับองค์การบริหารส่วนต�าบล ได้ใช้กลไกของเครือข่ายอาสาสมัครจิตอาสาราชประชาสมาสัย
           และจิตอาสาประชารัฐเพื่อให้กลุ่มคนดังกล่าวได้เข้าถึงสิทธิในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น
                                                                                                          ๑๗๓
           โดยมีงานวิจัยของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้เสนอรัฐบาลโดยท�านโยบายสาธารณะที่ชัดเจน
           เกี่ยวกับการจัดระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อให้กลุ่มเปราะบาง และ/หรือกลุ่มที่ยังเข้าไม่ถึงบริการ ได้เข้าถึงสิทธิ

           ในการรับบริการสาธารณสุขของรัฐได้ ๑๗๔






           ๑๖๕  ประชาชาติธุรกิจ. (๒๕๖๐). ผู้ป่วยบัตรทองกว่า ๒.๕ แสนสะดุ้ง! รพ.เอกชน ๔ แห่งถอนตัว สปสช.ลั่นอย่ากังวลจัด รพ.รองรับแล้ว. สืบค้นจาก http://prachachat.net/general/news-29084
           ๑๖๖  คมชัดลึก. (๒๕๖๐). การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. สืบค้นจาก www.komchadluek.net/news.edu-health/293611
           ๑๖๗  แต่พบว่า ประชากรร้อยละ ๐.๙๑ ของประชากรที่ได้ลงทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังเป็นผู้มีปัญหาด้านสถานะและสิทธิ และประชากรอีกร้อยละ ๐.๐๙ ของประชากร
              ทั้งประเทศ ยังไม่ได้ลงทะเบียนสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไว้.
           ๑๖๘  ไทยพับลิก้า. (๒๕๖๐). คลังเตรียมจัดแพคเกจคุมเบิกค่ารักษา “ข้าราชการ” ดึงบริษัท https://thaipublica.org/2016/09/medical-welfare-officials-1/
           ๑๖๙  Para 29 United Nations Economic and Social Council E/C.12/THA/CO/1-2 19June 2015
           ๑๗๐  Para 32 Committee on the Elimination of Discrimination against Women CEDAW/C/THA/CO/6-7 21July 2017
           ๑๗๑  หน้า ๑๔ เอกสารข้อเสนอเชิงนโยบาย เรื่อง การเพิ่มกลุ่มที่มีปัญหาสถานะและสิทธิเข้าสู่กองทุนให้สิทธิ(คืนสิทธิ)ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขกับบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ ครั้งที่ ๓
              จัดท�าโดยมูลนิธิพัฒนาชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ
           ๑๗๒  www.chiangmainews.co.th/page/archives/565262
           ๑๗๓  สปสช.หนุน จิตอาสาราชประชาสมาสัย กลไกสู่การดูแลสุขภาพประชาชน สืบค้นจาก http://prachtai.com/journal/2017/09/73433
           ๑๗๔  กลุ่มคนที่ถูกลืม เข้าไม่ถึงสิทธิสุขภาพ สืบค้นจากแหล่ง www.thaihealth.or.th/content/35245-“กลุ่มคนที่ถูกลืม”%20เข้าไม่ถึงสิทธิสุขภาพ.html


           120 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126