Page 115 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 115
(๒) การก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน
เรื่องการมีเสรีภาพในการสมาคมและการรับรองที่มีผลจริงส�าหรับสิทธิในการต่อรองเป็นหนึ่งในหลักการและ
สิทธิขั้นพื้นฐานในการท�างาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ที่ก�าหนดให้ประเทศ
สมาชิกเคารพและปฏิบัติตาม โดยแม้ประเทศไทยจะรับว่าจะเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพ
ในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน ค.ศ. ๑๙๔๘ และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วม
เจรจาต่อรอง ค.ศ. ๑๙๔๙ แต่ยังพบว่า รัฐมีความล่าช้าในการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายภายในให้สอดคล้องกับหลักการ
ของอนุสัญญา โดยหากพิจารณาประเทศที่ร่วมก่อตั้งสมาคมอาเซียน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐ พบว่า มีเพียงประเทศไทยเท่านั้น
ที่ยังไม่ให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ จึงถือว่ารัฐยังไม่มีความก้าวหน้าในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา
๑๓๐
ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘ เท่าที่ควร
(๓) กรณีบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐
(๓.๑) เรื่องความครอบคลุมของกลุ่มลูกจ้างในการก�าหนดอัตราค่าจ้างขั้นต�่าของกลุ่มลูกจ้างบางกลุ่ม บางประเภท
อาทิ นักเรียน นักศึกษา คนพิการ ผู้สูงอายุ ที่เป็นลูกจ้างที่มีนายจ้างตามเงื่อนไขของมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งอาจจะไม่ได้รับประโยชน์ในการเข้าถึงสิทธิตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
(ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ เนื่องจากนายจ้างไม่อยู่ภายใต้ขอบเขตแห่งกฎหมายฉบับนี้
(๓.๒) การขาดการตรวจสอบข้อบังคับเกี่ยวกับการท�างาน แม้จะเป็นการอ�านวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ
รายใหม่ แต่อาจเป็นช่องว่างที่ท�าให้เกิดการละเมิดสิทธิแรงงานของลูกจ้างได้
ข้อเสนอแนะ
๑. รัฐโดยคณะกรรมการค่าจ้างควรจัดให้มีการศึกษาถึงความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการก�าหนดอัตราค่าจ้าง
ขั้นต�่าให้สอดคล้องกับหลักการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ภายใต้บริบทของสังคมไทย อาทิ เรื่องการก�าหนดอัตรา
ค่าจ้างเดียวกันทั่วประเทศ การก�าหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต�่าเพียงพอต่อการเลี้ยงชีพของลูกจ้างและครอบครัวอีก ๒ คน
๑๓๐ มูลนิธิอารมณ์ พงศ์พงัน. (๒๕๖๐). การเป็นเป็นภาคีอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ และ ๙๘. สืบค้นจาก https://aromfoundation.org
114 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐