Page 114 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 114

บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
                                                                    และวัฒนธรรม



                  (๒) กรณีที่สถานประกอบการมีลูกจ้างตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป ไม่ต้องส่งข้อบังคับเกี่ยวกับการท�างานให้กรมสวัสดิการ
            และคุ้มครองแรงงาน นั้น อาจท�าให้เกิดปัญหาเรื่องระเบียบหรือข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นธรรม เนื่องจาก
            นายจ้างไม่ต้องส่งข้อบังคับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน


            การประเมินสถานการณ์ ปัญหา และอุปสรรค



                  จากการติดตามสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในการท�างานในประเทศไทย ในปี ๒๕๖๐ ประกอบการ
            พิจารณาบทบัญญัติตามกติกา ICESCR ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR รัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย

            ตลอดจนข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR กสม. เห็นว่า รัฐได้มีความก้าวหน้าในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในการท�างาน
            ในประเทศไทยเป็นล�าดับ ดังนี้
                  (๑) ปรับปรุงกฎหมาย โดยได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งเพิ่มบทบัญญัติ
            เกี่ยวกับการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างกรณีเกษียณอายุ และเพื่อ

            ให้เกิดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งเพิ่มบทก�าหนดโทษกรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณี
            เกษียณอายุ อันเป็นการด�าเนินการคุ้มครองบุคคลจากการเลือกปฏิบัติด้านการจ้างงานและอาชีพ ตามอนุสัญญา ILO ฉบับที่
            ๑๑๑ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.ศ. ๑๙๕๘
                  (๒) มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต�่าเพิ่มขึ้นในบางท้องที่ และเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖)

            พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้คณะกรรมการค่าจ้างสามารถพิจารณาก�าหนดอัตราค่าจ้างขั้นต�่าที่แตกต่างส�าหรับลูกจ้างบางกลุ่มได้
                  (๓) มีมาตรการอย่างต่อเนื่องในการดูแลจัดการสภาพการท�างานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะโดยพบว่ามีอัตราการ
            ประสบอันตรายจากการท�างานของลูกจ้าง กรณีร้ายแรงลดลง
                  (๔) รัฐบาลได้ด�าเนินมาตรการการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับข้อสังเกตเชิงสรุป

            ต่อรายงานการปฏิบัติงานฉบับที่ ๑ และ ๒ ของคณะกรรมการประจ�ากติกา ICESCR และข้อเสนอแนะจากการประชุม
            UPR รอบที่ ๒ โดยเฉพาะเรื่องการขยายความคุ้มครองหลักประกันสังคม ด้วยการเห็นชอบร่างกฎหมายล�าดับรองที่    บทที่
            ออกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตน มาตรา ๔๐ ที่เป็น   ๔
            แรงงานนอกระบบ

                  (๕) มีการอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อยกระดับการคุ้มครอง
            สิทธิของลูกจ้างให้สูงขึ้นและให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน อาทิ การก�าหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจ�าเป็นโดยได้
            รับค่าจ้าง และก�าหนดให้ลูกจ้างสามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร
                  อย่างไรก็ดี แม้รัฐได้มีนโยบาย/กฎหมาย/มาตรการหลายประการเพื่อช่วยส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านแรงงานของ

            แรงงานไทยให้มีความก้าวหน้าขึ้น แต่ยังพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคบางประการที่อาจท�าให้การคุ้มครองสิทธิในการท�างาน
            ของแรงงานไทยยังเป็นไปอย่างไม่เต็มประสิทธิผลเท่าที่ควร ในประเด็นดังต่อไปนี้


            (๑)  ค่าจ้างขั้นต�่า

                  เนื่องจากมีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับค่าจ้างขั้นต�่าว่า ไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพและมีการเพิ่มค่าจ้างไม่เท่ากันทั้งประเทศ
            ท�าให้คนท�างานไม่มีปัจจัยทางการเงินที่เพียงพอที่จะสร้างคุณค่าให้ชีวิต โดยอัตราค่าจ้างขั้นต�่ายังเป็นอัตราส�าหรับลูกจ้าง
            ที่ไม่มีฝีมือเมื่อแรกเข้าท�างาน เฉพาะลูกจ้างคนเดียวที่สมควรจะได้รับและสามารถด�ารงชีพอยู่ได้ตามสภาพเศรษฐกิจและ
            สังคม ณ เวลานั้น ๆ  แต่ไม่ได้เป็นอัตราค่าจ้างขั้นต�่าแรกเข้าที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัวอีก ๒ คน
                            ๑๒๙
            ตามหลักการของ ILO


            ๑๒๙  กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน. (๒๕๖๐). ก.แรงงาน แจงค่าจ้างขั้นต�่าก�าหนดตามเกณฑ์มาตรฐานส�าหรับแรงงานแรกเข้าท�างาน. สืบค้นจาก www.mol.go.th/
                content/62771/1505013922


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 113
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119