Page 113 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 113

ผู้ประกันตน มาตรา ๓๙ โดยเน้นสิทธิในการรักษาพยาบาลและความปลอดภัยในเวลางาน  นอกจากนี้ ยังมีการจัดท�า
                                                                                    ๑๒๕
           ร่างพระราชบัญญัติโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... โดยแรงงานนอกระบบจะได้รับความคุ้มครองเรื่องสุขอนามัย
           ที่ดีขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวก่อนจะเสนอไปยังคณะรัฐมนตรี



                การแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
                เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มีการบังคับใช้มาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้อง หรือ
           เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และไม่เอื้อประโยชน์ต่อการด�าเนินการเพื่อให้คุ้มครองลูกจ้าง จึงจ�าเป็นต้องมีการปรับปรุง
           เเก้ไขเพื่อยกระดับการคุ้มครองลูกจ้างให้สูงขึ้น  คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๐ อนุมัติหลักการ
                                                ๑๒๖
           ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระส�าคัญเป็นการเพิ่มเติมสิทธิของลูกจ้าง ก�าหนดให้นายจ้าง
           เสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี กรณีนายจ้างผิดนัดการจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ก�าหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระ
           อันจ�าเป็นโดยได้รับค่าจ้าง และก�าหนดให้ลูกจ้างสามารถลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตร ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์
           ปัจจุบันและเอื้อประโยชน์ต่อการด�าเนินการคุ้มครองลูกจ้าง และลดความเหลื่อมล�้าทางสังคม ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

                อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖)
           พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีสาระส�าคัญใน ๓ เรื่อง ได้แก่ (๑) การก�าหนดอัตราค่าจ้างขั้นต�่าส�าหรับลูกจ้างบางกลุ่ม
           บางประเภท เช่น นักเรียน นักศึกษา คนพิการ ผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงาน (๒) การเพิ่ม
           บทบัญญัติการเกษียณอายุและการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง จากเดิมการเกษียณอายุขึ้นอยู่กับข้อบังคับของ

           สถานประกอบการ แต่ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ก�าหนดการเกษียณอายุไว้ที่ ๖๐ ปี และ (๓) สถานประกอบการมีลูกจ้าง
           ตั้งแต่ ๑๐ คนขึ้นไป ต้องท�าข้อบังคับเกี่ยวกับการท�างาน  และประกาศให้ลูกจ้างทราบภายใน ๑๕ วัน โดยไม่ต้อง
                                                          ๑๒๗
           ส่งข้อบังคับให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่ออ�านวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการรายใหม่ลดเวลาใน
           การเริ่มธุรกิจ ซึ่งกรณีนี้ได้มีนักวิชาการด้านแรงงาน  ตั้งข้อสังเกตถึงเรื่องดังกล่าวไว้ว่า กฎหมายฉบับนี้เป็นการ
                                                       ๑๒๘
           แก้ไขจากกฎหมายฉบับเดิม ที่ยังคงยกเว้นบังคับกับนายจ้างในกิจการราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และ
           ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ รวมถึงมีกฎกระทรวงที่ออกตาม
           พระราชบัญญัติฉบับเก่าที่ยกเว้นแก่นายจ้างในบางกิจการด้วยที่ไม่ต้องใช้บังคับ เช่น ครูโรงเรียนเอกชน ลูกจ้างท�างานบ้าน
           ลูกจ้างที่ท�างานในองค์กรที่มิได้แสวงหาก�าไรในทางเศรษฐกิจ เช่น องค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ลูกจ้างภาคเกษตรกรรม

           ที่ไม่ได้ท�างานตลอดปี โดยในส่วนของเนื้อหาใหม่ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ มีข้อสังเกต
           ๒ กรณี ได้แก่
                (๑) กรณีการก�าหนดอัตราค่าจ้างขั้นต�่าส�าหรับลูกจ้างบางกลุ่ม บางประเภทเพื่อส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครอง
           แรงงาน นั้น ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มลูกจ้างบางกลุ่มที่มีนายจ้างตามเงื่อนไขของมาตรา ๔ ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน

           พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับตามกฎหมายข้างต้น เช่น ลูกจ้างในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ครูโรงเรียนเอกชน ลูกจ้าง
           ท�างานบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังอาจเป็นการเปิดช่องทางให้ผู้ประกอบการบางประเภทจ้างงานนักศึกษาแบบเต็มเวลา
           เหมือนพนักงานประจ�าโดยไม่ต้องรับผิดชอบสวัสดิการอื่นอีกด้วย









           ๑๒๕  ส�านักงานประกันสังคม. (๒๕๖๐). การขยายความคุ้มครองหลักประกันสังคมตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๐. สืบค้นจาก www.sso.go.th/wpr/content.jsp?lang=th&-
              cat=762&id=4816
           ๑๒๖  บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จ�ากัด (มหาชน). (๒๕๖๐). กฎหมายเพิ่มสิทธิลูกจ้าง. สืบค้นจาก www.nationtv.tv/main/content/social/378562708/
           ๑๒๗  ข้อบังคับอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (๑) วันท�างาน เวลาท�างานปกติ และเวลาพัก (๒) วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด (๓) หลักเกณฑ์การท�างานล่วงเวลาและการท�างานในวัน
              หยุด (๔) วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าท�างานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด (๕) วันลาและหลักเกณฑ์การลา (๖) วินัยและโทษทางวินัย (๗) การร้องทุกข์ (๘) การเลิก
              จ้าง ค่าชดเชย และค่าชดเชยพิเศษ.
           ๑๒๘  ประชาไท. (๒๕๖๐). นักวิจัยสิทธิแรงงาน ตั้ง ๒ ข้อสังเกต หลัง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฉบับแก้ไขบังคับใช้. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2017/09/73126


           112 |  รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐
   108   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118