Page 111 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 111
(๑) เมื่อเป็นคนหางาน รัฐต้องก�าหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการจ้างงานอย่างเท่าเทียมกันและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
(๒) เมื่อต้องการได้รับการฝึกอบรมทักษะฝีมือแรงงาน รัฐต้องจัดให้บุคคลที่ต้องการเหล่านี้มีสิทธิได้รับการพัฒนา
ทักษะฝีมือแรงงานอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนหางาน หรือเป็นผู้ได้รับการจ้างงาน
แล้วก็ตาม
(๓) เมื่อเข้าสู่ระบบการจ้างงานและมีฐานะเป็นคนงานหรือลูกจ้างแล้ว รัฐต้องคุ้มครองบุคคลเหล่านี้ให้มีสภาพ
การท�างานที่เท่าเทียมกันโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ
(๔) เมื่อเกษียณ รัฐต้องคุ้มครองคนงานหรือลูกจ้างให้เกษียณจากการท�างานโดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติ โดยในกรณีนี้
ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๐ โดยได้เพิ่มมาตรา ๑๑๘/๑ ดังนี้
“การเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างก�าหนดไว้ให้ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคสอง
ในกรณีที่มิได้มีการตกลงหรือก�าหนดการเกษียณอายุไว้หรือมีการตกลงหรือก�าหนดการเกษียณอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี
ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบ
สามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ตามมาตรา ๑๑๘ วรรคหนึ่ง”
อย่างไรก็ดี อนุสัญญานี้ไม่ครอบคุลมถึงการปฏิบัติที่แตกต่างกับคนงานข้ามชาติ เนื่องจากเหตุแห่งการเลือกปฏิบัติ
ภายใต้อนุสัญญานี้ไม่รวมถึงเรื่องสัญชาติ
การท�างานและมีเงื่อนไขการท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม
ค่าจ้างขั้นต�่า
รัฐบาลได้มีประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต�่า (ฉบับที่ ๘) ลงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๙ ก�าหนด
อัตราค่าจ้างขั้นต�่าเป็นเงิน ๓๐๐ บาท ๓๐๕ บาท ๓๐๘ บาท และ ๓๑๐ บาท แตกต่างกันไปตามท้องที่ โดยให้มีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป และมีการเพิ่มเติมบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖)
๑๑๙
พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมาตรา ๘๗ วรรคสาม ก�าหนดให้คณะกรรมการค่าจ้างอาจพิจารณาก�าหนดอัตราค่าจ้างขั้นต�่าที่แตกต่าง
จากที่พิจารณาก�าหนดในวรรคสอง เพื่อใช้ส�าหรับลูกจ้างกลุ่มนั้นหรือประเภทนั้นในกิจการ งาน หรือสาขาอาชีพประเภทใด
เพียงใด ในท้องถิ่นใดก็ได้ โดยค่าจ้างดังกล่าวต้องไม่ต�่ากว่าอัตราค่าจ้างขั้นต�่าที่คณะกรรมการค่าจ้างก�าหนด เพื่อเป็นการ
ส่งเสริมการจ้างงานและการคุ้มครองแรงงานส�าหรับลูกจ้างบางกลุ่มหรือบางประเภท โดยปัจจุบันได้มีการประกาศอัตรา
ค่าจ้างให้แก่ผู้ที่มีทักษะฝีมือแรงงานที่ได้มาตรฐาน ๖๗ สาขาอาชีพ สูงสุดวันละ ๘๐๐ บาท และอยู่ระหว่างการพิจารณา
เพิ่มขึ้นอีก ๑๖ สาขาอาชีพ
อย่างไรก็ดี องค์กรด้านแรงงานได้มีข้อเรียกร้องเรื่องการก�าหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม โดยเรียกร้องให้ก�าหนด
นิยามค่าจ้างขั้นต�่าแรกเข้าที่มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัวอีก ๒ คน ตามหลักการของ ILO และ
ต้องมีอัตราเท่ากันทั้งประเทศ และให้มีการก�าหนดโครงสร้างค่าจ้างและพิจารณาปรับค่าจ้างทุกปี ๑๒๐
สภาพการท�างานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบเชิงส่งเสริมการด�าเนินงาน
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ค.ศ. ๒๐๐๖ โดยมุ่งปรับปรุงสภาพการท�างานและความเป็นอยู่ของคนท�างานให้สอดคล้องกับ
๑๑๙ ส�านักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. (๒๕๖๐). ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต�่า (ฉบับที่ ๘). สืบค้นจาก www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/
2559/E/284/14.PDF
๑๒๐ หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. (๒๕๖๐). “วันเมย์เดย์” ๑ พ.ค. สองขบวนแรงงานแยกตั้ง ๒ เวที. สืบค้นจาก www.komchadluek.net/news/regional/274329
110 | รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี ๒๕๖๐