Page 110 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 110

บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
                                                                    และวัฒนธรรม


            ๔.๒ สิทธิในการท�างาน



            ภาพรวม



                  กติกา ICESCR ประกันสิทธิในการท�างานไว้ในข้อบทที่ ๖-๘ ได้แก่ (๑) สิทธิในการท�างาน (๒) สิทธิในการได้รับ
            เงื่อนไขการท�างานที่เหมาะสมเป็นธรรม และ (๓) สิทธิที่จะก่อตั้งและเข้าร่วมสหภาพแรงงาน นอกจากนี้ ประเทศไทย
            ยังได้เข้าร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ตั้งแต่ปี ๒๔๖๒ โดยปฏิญญาว่าด้วยหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐาน
            ในการท�างาน (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) ก�าหนดให้ประเทศสมาชิกเคารพ

            และปฏิบัติตามสิทธิในการท�างานขั้นพื้นฐานครอบคลุมทั้งหมด ๔ ประเด็น คือ (๑) เสรีภาพในการสมาคมและการรับรอง
            ที่มีผลจริงส�าหรับสิทธิในการต่อรอง (๒) การขจัดการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบ (๓) การยกเลิกอย่างได้ผลต่อการใช้
            แรงงานเด็ก และ (๔) การขจัดการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและประกอบอาชีพ
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในการประกอบอาชีพและแรงงาน

            ปรากฏตามมาตรา ๓๐ ที่มิให้มีการเกณฑ์แรงงาน เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย  มาตรา ๔๐ ที่ให้
                                                                                               ๑๑๕
            การรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพ และการตรากฎหมายต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ  รวมถึงมาตรา
                                                                                                ๑๑๖
            ๔๒ ที่ระบุถึงเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น  และเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม
                                                                                    ๑๑๗
            ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้รับข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR รอบที่ ๒  (ปี ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓) จากประเทศต่าง ๆ

            เพื่อด�าเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านการท�างานให้ได้มาตรฐาน อาทิ การลดช่องว่างทางรายได้ในสังคม การขยาย
            การเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาล การประกันสังคม และค่าแรงขั้นต�่า โดยไม่แบ่งแยกชาติพันธุ์ หรืออุปสรรคทางภาษา
                  จากข้อมูลการส�ารวจภาวะการท�างานของประชากรเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๐ ของส�านักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า
            ผู้ที่อยู่ในก�าลังแรงงานมีจ�านวนทั้งสิ้น ๓๘.๒๘ ล้านคน เป็นผู้มีงานท�า ๓๗.๗๒ ล้านคน เมื่อเทียบกับแรงงานในช่วงเวลา

            เดียวกันของปี ๒๕๕๙ พบว่า จ�านวนผู้มีงานท�าเพิ่มขึ้น ๖.๐ หมื่นคน
                  ทั้งนี้ ข้อมูลในช่วงไตรมาสที่ ๓ (กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๖๐) พบว่า ในจ�านวนผู้มีงานท�าทั้งสิ้น ๓๗.๗ ล้านคน
            เป็นแรงงานในระบบ ๑๖.๙ ล้านคน และเป็นผู้ท�างานที่ไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือไม่มีหลักประกันทางสังคมจาก   บทที่
                                                                                                                   ๔
            การท�างานหรือแรงงานนอกระบบจ�านวน ๒๐.๘ ล้านคน ซึ่งเป็นจ�านวนเกินครึ่งหนึ่งของผู้มีงานท�า



                  จากการประมวลข้อมูลสถานการณ์สิทธิในการท�างานในประเทศไทยในปี ๒๕๖๐ มีดังนี้

            สิทธิของทุกคนที่จะมีโอกาสที่จะหาเลี้ยงชีพโดยงานซึ่งตนเลือกหรือรับอย่างเสรี

                  ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันอนุสัญญา ILO ฉบับที่ ๑๑๑ ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพ ค.ศ.
            ๑๙๕๘ เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐ เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคในการจ้างงานและอาชีพ และขจัดการเลือกปฏิบัติใด ๆ
            ในการจ้างงานและอาชีพ  โดยเมื่อให้สัตยาบันแล้ว รัฐบาลต้องคุ้มครองบุคคลจากการเลือกปฏิบัติด้านการจ้างงานและอาชีพ
                                ๑๑๘
            ใน ๔ ช่วง คือ





            ๑๑๕  มาตรา ๓๐ การเกณฑ์แรงงานจะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ หรือในขณะที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
                หรือประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ.
            ๑๑๖  มาตรา ๔๐  บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ. การจ�ากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคง
                หรือเศรษฐกิจของประเทศ การแข่งขันอย่างเป็นธรรม การป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด การคุ้มครองผู้บริโภค การจัดระเบียบการประกอบอาชีพเพียงเท่าที่จ�าเป็น หรือเพื่อ
                ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น การตรากฎหมายเพื่อจัดระเบียบการประกอบอาชีพตามวรรคสอง ต้องไม่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติหรือก้าวก่ายการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษา.
            ๑๑๗  มาตรา ๔๒ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชน หรือหมู่คณะอื่น การจ�ากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระท�ามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอ�านาจตาม
                บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อการป้องกันหรือขจัดการกีดกันหรือการผูกขาด.
            ๑๑๘  การจ้างงานและอาชีพ หมายรวมถึง การฝึกอาชีพ การได้รับการจ้างจ้างงาน และการประกอบอาชีพ เงื่อนไขการจ้างงาน และสภาพการท�างาน.


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 109
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115