Page 108 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 108
บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม
• การเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของเด็กหญิงและสตรี แม้ว่าประเทศไทยได้ประกันความเสมอภาคในการเข้าถึง
สิทธิทางการศึกษาระหว่างชายและหญิง แต่คณะกรรมการประจ�าอนุสัญญา CEDAW ยังคงมีข้อกังวลเกี่ยวกับโอกาสในการ
เข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของเด็กหญิงและสตรี โดยมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไทยสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงสิทธิทางการ
ศึกษาของเด็กหญิงและสตรีอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการเข้าถึงศึกษาในระดับวิชาชีพ
๑๑๔
การประเมินสถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรค
ในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้มีนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการประกันสิทธิทางการศึกษา และมีความพยายาม
อย่างต่อเนื่องที่จะด�าเนินการเพื่อบรรลุสิทธิทางการศึกษาโดยล�าดับ ซึ่งสอดคล้องกับข้อ ๑๓ ของกติกา ICESCR โดยรัฐบาล
ยังคงตระหนักถึงการมีอยู่ของสิทธิทางการศึกษาโดยได้สนับสนุนงบประมาณคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๒ ของงบประมาณรายจ่าย
ทั้งประเทศ แม้ว่าจะลดลงไปร้อยละ ๒.๑ เมื่อเทียบกับงบประมาณด้านการศึกษาในปี ๒๕๕๙ แต่รัฐบาลได้มีการด�าเนิน
การให้เกิดความก้าวหน้าในสิทธิทางการศึกษาหลายประการเพื่อเอื้ออ�านวยการดังต่อไปนี้
• การเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของรัฐ รัฐบาลได้แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาโดยจัด
ท�าแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙ และจัดท�าร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... เพื่อด�าเนิน บทที่
๔
การตามหน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษาสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยเฉพาะ
เรื่องการเข้าถึงสิทธิในการศึกษาของเด็กเล็กก่อนวัยเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย การจัดตั้งกองทุนเพื่อลดความเหลื่อมล�้าใน
การศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่มีการเก็บเงินค่าใช้จ่าย ตลอดจน
การริเริ่มให้ประชาชนเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาระดับขั้นอุดมศึกษาบนพื้นฐานความสนใจและความสามารถโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ผ่านโครงการ Thai MOOC
• การลดความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา ในมิติปัจจัยการเข้าถึงทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ
รัฐบาลได้สนับสนุนเงินเพิ่มให้กับโรงเรียนขนาดเล็กทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา และนักเรียนยากจน
การประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งไม่เพียงแต่นักเรียน/นักศึกษาที่ขาดแคลน
ทุนทรัพย์เท่านั้น แต่เพิ่มโอกาสให้นักเรียน/นักศึกษาเยาวชนที่เรียนดีอีกด้วย และต้องการศึกษาสาขาวิชาขาดแคลน หรือ
สาขาที่เป็นความต้องการเพื่อพัฒนาประเทศ ได้เข้าถึงสิทธิทางการศึกษาในขั้นอุดมศึกษา หรือขั้นวิชาชีพมากขึ้น ส�าหรับมิติ
คุณภาพทางการศึกษา เพื่อให้มีการเข้าถึงสิทธิในการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน มีการร่างกฎกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา และการน�าเทคโนโลยีทางไกลมาพัฒนาคุณภาพในโรงเรียน
ขนาดเล็ก /ขนาดกลาง โรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลและโรงเรียนที่ขาดแคลนครู การใช้รูปแบบการจัดการสอนแบบบูรณาการ
วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ และการให้ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการ
จัดการศึกษากับภาครัฐ
๑๑๔ The Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights. (2017). Concluding observations on the combined sixth and seventh periodic reports of Thailand Committee
on the Elimination of Discrimination against Women CEDAW/C/THA/CO/6-7 21 July 2017 para 34. Retrieved from http://tbinternet.ohchr.org/SitePages/Home.aspx
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 107