Page 106 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 106

บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
                                                                    และวัฒนธรรม



                  ในปี ๒๕๖๐ รัฐบาลได้ลดงบประมาณด้านการศึกษาลงไปร้อยละ ๒.๑ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๙  โดยรัฐบาลได้จัดสรร
                                                                                           ๑๐๐
            งบประมาณด้านการศึกษาเป็นเงิน ๕๓๖,๗๓๒ ล้านล้านบาทจากงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด ๒,๙๒๓,๐๐๐ ล้านล้านบาท
            คิดเป็นร้อยละ ๑๘.๒ ของงบประมาณทั้งหมด หรือร้อยละ ๓.๓ ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)  ถึงแม้ว่าเด็ก
                                                                                                  ๑๐๑
            และเยาวชนได้รับการประกันการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาของรัฐ โดยรัฐมีหน้าที่ด�าเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี

            โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย แต่ยังพบว่า การเข้าถึงสิทธิทางการศึกษามีข้อท้าทายในประเด็นดังต่อไปนี้
                  •  การเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนในวัยเรียนอายุ ๓ - ๑๗ ปี ยังไม่สามารถเข้าถึงการศึกษา
            ขั้นพื้นฐานได้ครบทุกคน  โดยเด็กและเยาวชนไทยอายุ ๑๕ ปี มีจ�านวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพียง ๘.๕ ปี  และมีแนวโน้ม
                                ๑๐๒
                                                                                               ๑๐๓
            ออกจากระบบการศึกษาภาคบังคับเมื่อส�าเร็จระดับชั้นประถมศึกษา และออกจากระบบการศึกษามากที่สุดในช่วงระดับ
            มัธยมศึกษา  ในขณะที่อัตราการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษายังต�่า โดยมีเยาวชนเพียงครึ่งหนึ่งของประเทศที่สามารถเข้าถึง
                      ๑๐๔
            การศึกษาขั้นสูงได้  ดังนั้น รัฐบาลควรเร่งด�าเนินการจัดท�าร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ให้สอดคล้อง
                           ๑๐๕
            กับหน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาควรพิจารณาแผน
            การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป

            ประเทศ โดยปฏิรูประบบบริหารบุคลากร การจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก รวมถึงการพัฒนาครู
                  •  ความเหลื่อมล�้าในการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา พบว่า ในส่วนของปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือความยากจน
            และปัจจัยการเข้าถึงทางกายภาพในเชิงพื้นที่ ถึงแม้ว่าในปีการศึกษา ๒๕๖๐ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณ ๓๙,๒๓๔ ล้านล้านบาท
            ให้กับส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี ให้กับนักเรียนเรียน

            ทั่วประเทศจ�านวน ๗,๐๓๒,๑๓๑ คน และสนับสนุนเงินเพิ่มให้กับนักเรียนยากจนในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
            ตอนต้น รวมถึงโรงเรียนขนาดเล็กในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้นก็ตาม  แต่ยังพบว่า เด็กกลุ่มยากจน
                                                                                     ๑๐๖
            ยังขาดโอกาสเข้าถึงสิทธิทางการศึกษาตั้งแต่เริ่มแรกของระดับประถมและระดับที่สูงขึ้น  และประชากรในเขตเมืองจะ
                                                                                    ๑๐๗
            มีโอกาสเข้าถึงสิทธิในการศึกษาดีกว่าประชากรนอกเขตเมือง และประชากรในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะมีโอกาสเข้าถึง




                                                                                                                  บทที่
                                                                                                                   ๔
            ๑๐๐  โดยในปี ๒๕๕๙  รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาเป็นเงิน ๕๕๒,๙๑๑.๖ ล้านล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด ๒,๗๒๐,๐๐๐ ล้านล้านบาท ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ
                คิดเป็นร้อยละ ๒๐.๓ ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งการลงทุนด้านการศึกษาของประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ ๔.๑ ต่อจ�านวนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic
                Product: GDP)  จากสถิติการศึกษาของประเทศไทยปี ๒๕๕๗-๒๕๕๘ ส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตาราง ๖๗ หน้า ๑๐๗ และบทสรุปผู้บริหาร.
            ๑๐๑  ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (๒๕๖๐). ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. ตารางงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาจ�าแนกตามระดับการศึกษา ปีงบประมาณ
                ๒๕๓๕-๒๕๖๑. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th
            ๑๐๒  จากระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พบว่า ข้อมูลจ�านวนและร้อยละของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในระบบโรงเรียนต่อ
                ประชากรในวัยเรียน จ�าแนกตามระดับการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๕๙  มีประชากรในวัยเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาคิดเป็นร้อยละ ๘๐.๕ ของประชากรในวัยเรียนทั้งหมด แบ่งเป็นระดับ
                ก่อนประถมศึกษา ร้อยละ ๗๔.๘ ระดับก่อนประถมศึกษา ร้อยละ ๑๐๒.๘ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ ๙๖.๘ ระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ ๗๘.๖. ส�านักงานคณะกรรมการ
                พัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (๒๕๖๐). ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th
            ๑๐๓  ตารางจ�านวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากร จ�านวนตามกลุ่มอายุและเพศ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ
                แห่งชาติ. ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (๒๕๖๐). ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th
            ๑๐๔  หน้า ๑๘  สภาวะการศึกษาไทย ปี ๒๕๕๘/๒๕๕๙ ความจ�าเป็นของการแข่งขันและการกระจายอ�านาจในระบบการศึกษาไทย โดยส�านักงานเลขาธิการสภาการศึกษา พบว่า ในปีการศึกษา
                ๒๕๕๘ อัตราการเข้าเรียนสุทธิในระดับก่อนประถมศึกษา  ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๐๕, ๘๙.๕๔, ๗๐.๕๒ และ ๖๑.๐๓ ตามล�าดับ
                เมื่อจ�าแนกเป็นการศึกษาภาคบังคับ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๒ ปี อัตราการเข้าเรียนสุทธิ คิดเป็นร้อยละ ๙๑.๕๒ และ ๘๙.๖๕ ตามล�าดับ.
            ๑๐๕  จากระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พบว่า ข้อมูลจ�านวนและร้อยละของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในระบบโรงเรียนต่อ
                ประชากรในวัยเรียน จ�าแนกตามระดับการศึกษาปีการศึกษา ๒๕๕๙ พบว่า ประชากรในวัยเรียนที่อยู่ในระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาคิดเป็นร้อยละ ๔๗.๗. ส�านักงานคณะกรรมการ
                พัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (๒๕๖๐). ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th
            ๑๐๖  แนวทางการด�าเนินโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ ๒๕๖๐ เงินค่าสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาในระดับ
                ก่อนประถมและประถมศึกษา ๑,๗๐๐ บาท/คน/ปี และ๑,๙๐๐ บาท/คน/ปี ตามล�าดับ ระดับมัธยมตอนต้น และมัธยมตอนปลาย ๓,๕๐๐ บาท/คน/ปี  และ ๓,๘๐๐ บาท/คน/ปี ตาม
                ล�าดับ และระดับอาชีวศึกษาจะได้รับเงินขึ้นกับหลักสูตรที่เรียน ๕,๖๐๐ - ๑๑,๙๐๐ บาท/คน/ปี โดยโรงเรียนขนาดเล็กระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนไม่เกิน ๑๒๐ คนจะได้รับเงินเพิ่มอีก
                คนละ ๕๐๐ บาทต่อคนต่อปี และโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นขนาดเล็กซึ่งมีนักเรียนไม่เกิน ๓๐๐ คนจะได้รับเงินอุดหนุนรายปีเพิ่มอีกจ�านวน ๑๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี และนักเรียนยากจน
                ในระดับชั้นประถม (ร้อยละ ๔๐ ของนักเรียนประถมศึกษาทั้งหมด) และในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ ๓๐ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทั้งหมด) จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่ม
                ๑,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปี และ ๓,๐๐๐ บาทต่อคนต่อปีตาม ล�าดับ. ส�านักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (๒๕๖๐). โอกาสในการเข้าถึงการศึกษาของประชากรวัยเรียนในพื้นที่
                ต่าง ๆ. สืบค้นจาก http://special.obec.go.th/doc
            ๑๐๗  จากระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ รายงานว่า คนจนส่วนใหญ่ร้อยละ ๖๖.๔ ได้รับการศึกษาเพียงระดับชั้นประถมศึกษา
                ร้อยละ ๑๒.๕ และร้อยละ ๖.๕ ได้รับการศึกษาในระดับชั้นมัธยมต้นและมัธยมปลายตามล�าดับและมีเพียงร้อยละ ๑.๓ ของคนจนที่ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และร้อยละ ๑๐ ไม่
                เคยเข้าระบบโรงเรียนใด ๆ. ส�านักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (๒๕๖๐). ระบบฐานข้อมูลด้านสังคมและคุณภาพชีวิต. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th


                                                                                คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  | 105
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111