Page 102 - รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2560
P. 102
บทที่ ๔ การประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม
และวัฒนธรรม
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ที่ก�าหนดให้รัฐมีหน้าที่ในการจัดการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา ๑๒ ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียน
จนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การดูแลและพัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียนทั้งด้าน
ร่างกาย จิตใจ และสังคม การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการ
ด�าเนินการด้านการศึกษา การสนับสนุนแนวทางการศึกษาที่เน้นความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ และการจัดการศึกษา
ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล รวมถึงให้รัฐต้องด�าเนินการปฏิรูปด้านการศึกษาโดยให้เด็กเล็กได้รับการดูแลพัฒนา
ก่อนเข้ารับการศึกษาภาคบังคับโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การตรากฎหมายเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลน
ทุนทรัพย์ เพื่อลดความเหลื่อมล�้าในการศึกษา และเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู การมีกลไกและระบบ
การผลิตบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ และการปรับปรุงการเรียนการสอนทุกระดับเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตาม
ความถนัดและปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกันทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ๘๔
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีความก้าวหน้าสิทธิทางการศึกษา โดยเด็กไทยได้รับสิทธิทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี
โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย โดยในปี ๒๕๖๐ ได้มีนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่าง ๆ ที่มุ่งให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านสิทธิ
๘๕
ทางการศึกษาในการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา และลดความเหลื่อมล�้า โดยสามารถสรุปสาระส�าคัญตามที่ปรากฏในตาราง ๑
ตารางที่ ๑ ประเด็นความก้าวหน้าทางสิทธิทางการศึกษา กับนโยบาย กฎหมาย มาตรการ และกลไกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ความก้าวหน้า นโยบาย กฎหมาย รายละเอียด
สิทธิทางการศึกษา มาตรการและกลไกต่าง ๆ
การเข้าถึงสิทธิทางการ • พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการด�าเนิน ในมิติที่เกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษา ภายใต้กรอบ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี การปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐ ๘๖ การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ตามรัฐธรรมนูญ
• แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ ๘๗ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด
• การแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูป ๖ มาตรา ๒๕๘ จ (๑) (๒) (๓) และ (๔) ได้จัดท�า
การศึกษา ๘๘ แผนการศึกษาแห่งชาติฯ โดยยุทธศาสตร์ของ
• ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ๘๙ แผนดังกล่าวจะท�าให้เกิดโอกาสในการเข้าถึง บทที่
สิทธิทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน และ ๔
การพัฒนาคุณภาพของระบบการบริหารจัดการ
ศึกษา และจัดตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อ
การปฏิรูปการศึกษาเพื่อด�าเนินการศึกษา
และจัดท�าข้อเสนอแนะและร่างกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะสนับสนุนสิทธิในการเข้าถึง
การศึกษาของเด็กก่อนวัยเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
การลดความเหลื่อมล�้าในการศึกษาโดยการจัดตั้ง
๘๔ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๔ บัญญัติว่า รัฐต้องด�าเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่วัยเรียน
จนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพและไม่มีค่าใช้จ่าย......ประกอบ หมวด ๑๖ การปฏิรูปประเทศ มาตรา ๒๕๘ จ ด้านการศึกษา (๑) (๒) (๓) และ (๔).
๘๕ เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๙ ค�าสั่งหัวหน้า คสช. ที่ ๒๘/๒๕๕๙ เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย.
๘๖ การปฏิรูปด้านการศึกษา เป็นหนึ่งในแผนงานและขั้นตอนการปฏิรูปประเทศภายใต้หมวด ๑๖ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ โดยมีการตราพระราชบัญญัติแผน
และขั้นตอนการด�าเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (๒๕๖๐). การปฏิรูปด้านการศึกษา. สืบค้นจาก www.senate.go.th/bill/bk_data/318-6.pdf
๘๗ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ ได้ก�าหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการศึกษา ๖ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย (๑) การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ (๒) การผลิต
และพัฒนาก�าลังคน การวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (๓) การพัฒนาศักยภาพของคนทุกช่วงวัย และการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (๔) การสร้างโอกาส
ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา (๕) การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ (๖) การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการศึกษา.
๘๘ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ตามประกาศส�านักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน
๒๕๖๐ ให้ด�าเนินการศึกษาและจัดท�าข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการด�าเนินการให้บรรลุเป้าหมายเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีด�าเนินการต่อไป ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ หมวด ๑๖ มาตรา ๒๕๘ จ การปฏิรูปการศึกษา (๑) (๒) (๓) และ (๔). ส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (๒๕๖๐). คณะกรรมการอิสระเพื่อ
การปฏิรูปการศึกษา. สืบค้นจาก www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/162/21.PDF
๘๙ ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... จะปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ ในเรื่องเกี่ยวกับการดูแลเด็กก่อนวัยเรียน
ซึ่งจะต้องมีการจัดการดูแลเด็กตั้งแต่เกิด ก่อนเข้าเรียนจนถึงเข้าโรงเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา ๕๔.
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ | 101