Page 85 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 85

เป็นสิ่งส�าคัญและจ�าเป็นต่อการสร้างประชาคม  การเป็นประชาคมเดียวกันของอาเซียนย่อมหมายความว่า  ประชาชน
          ในอาเซียนมีหลักการพื้นฐานและมีเป้าหมายระยะยาวร่วมกันและการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศ
          สมาชิกหนึ่งย่อมเป็นประเด็นที่ประชาชนของประเทศสมาชิกอื่น ๆ และประชาคมต้องให้ความสนใจและสามารถหยิบยกขึ้น

          พิจารณาเพื่อให้มีการพัฒนาปรับปรุงได้ ในประเด็นนี้สหภาพยุโรป (European Union) เป็นตัวอย่างที่ดีต่ออาเซียนใน
          แง่ที่ว่า ประเทศที่มีความแตกต่างกันในระดับที่มากกว่าภูมิภาคอาเซียน และเคยก่อสงครามระหว่างกันหลายครั้งใน
          ประวัติศาสตร์ ยังสามารถรวมตัวกันได้ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม โดยยึดถือหลักการสิทธิมนุษยชน

          เป็นพื้นฐานที่ส�าคัญประการหนึ่ง  (นอกเหนือจากหลักประชาธิปไตยและหลักนิติรัฐ)  จึงไม่มีเหตุผลใดที่ความแตกต่างใน
          ด้านต่าง ๆ ของประเทศสมาชิกอาเซียนจะถูกหยิบยกเป็นประเด็นต่อการพัฒนาประชาคมที่ยึดถือหลักการสิทธิมนุษยชน

          อย่างสากล นอกจากนั้น ลักษณะจ�าเพาะของประเทศสมาชิกที่พึงต้องค�านึงถึง ต้องเป็นลักษณะจ�าเพาะที่ส่งเสริมหลักการ
          พื้นฐานของประชาคม เช่น หลักการสิทธิมนุษยชน เท่านั้นโดยไม่อาจกล่าวอ้างถึงความจ�าเพาะในด้านการใช้ความรุนแรง
          และการใช้สิทธิของคนหมู่มากเพื่อละเมิดสิทธิของคนกลุ่มที่มีอ�านาจต่อรองน้อยกว่า



                             ๒. กระบวนการสรรหาและสถานะของผู้แทน

                                นอกจากประเด็นความเข้าใจหลักการสิทธิมนุษยชนแล้ว  กระบวนการสรรหาและคัดเลือกผู้แทน
          AICHR เป็นอีกประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้ ดังนี้
                                ๑) ส�าหรับประเด็นกระบวนการสรรหาผู้แทน  เอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ก�าหนดให้ประเทศ

          สมาชิกควรปรึกษากับผู้มีส่วนได้เสียที่เหมาะสมในการแต่งตั้งผู้แทนเข้าร่วมในคณะกรรมาธิการ  ทั้งนี้  หากเป็นข้อก�าหนด
          ตามกระบวนภายในของประเทศสมาชิก ในทางปฏิบัติ วิธีการสรรหาและคัดเลือกผู้แทนประเทศสมาชิกที่ใช้กันมีอยู่ ๒ วิธี
          วิธีแรกคือการที่ประเทศสมาชิกจัดกระบวนการสรรหาผู้แทนแบบเปิด  คือ  มีการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ามาเป็นผู้แทน

          AICHR และวิธีที่สอง คือ การที่รัฐบาลของประเทศสมาชิกแต่งตั้งผู้แทนเองตามความเหมาะสม มาตรฐานของกระบวนการ
          สรรหาและคัดเลือกที่แตกต่างกันย่อมน�ามาสู่ที่มาและสถานะตลอดจนระดับความเข้าใจและทัศนคติต่อประเด็นสิทธิ
          มนุษยชนที่แตกต่างกันระหว่างผู้แทนของแต่ละประเทศ  ส�าหรับประเทศไทย  ในการแต่งตั้งผู้แทนใน  AICHR  ที่ผ่านมาใช้

          วิธีการเปิดรับสมัครอย่างเปิดเผยและมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเพื่อพิจารณาคุณสมบัติและวิสัยทัศน์ของผู้สมัคร
          เป็นผู้แทน  ในภาพรวมของ  AICHR  ผู้แทนของประเทศสมาชิกส่วนใหญ่เป็นข้าราชการหรืออดีตข้าราชการจากกระทรวง

          การต่างประเทศของประเทศสมาชิกที่แต่งตั้ง ส่วนน้อยจะมีที่มาจากภาคส่วนอื่น เช่น นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน
          (ในกรณีอินโดนีเซีย) หรือนักกฎหมายที่มิได้มีสถานะเป็นข้าราชการ (ในกรณีประเทศไทย)
                                ๒)  มีข้อก�าหนดหลายประการในเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ที่น�ามาสู่การตีความที่แตกต่างกัน

          เกี่ยวกับกรอบการท�างานและสถานะของผู้แทน โดยในประการแรก ผู้แทนจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลาง (Impartially)
          ตามกฎบัตรอาเซียนและเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่  ในขณะที่ยังมีข้อก�าหนดอีกข้อหนึ่งที่ก�าหนดให้ผู้แทนมีความรับผิดชอบ

          (Accountable) ต่อรัฐบาลที่แต่งตั้ง และแม้ว่าผู้แทนจะมีวาระการด�ารงต�าแหน่งที่แน่นอน คือ ๓ ปี แต่รัฐบาลประเทศ
          ที่แต่งตั้งอาจเปลี่ยนผู้แทนได้ตามที่เห็นสมควร ข้อก�าหนดที่มีความแตกต่างกันดังกล่าวท�าให้เกิดการตีความสองทาง
          ในทางหนึ่ง ผู้แทนใน AICHR ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลางซึ่งหมายถึงความเป็นอิสระในการท�างานและให้ความเห็น

          เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นเอกเทศ  ในอีกทางหนึ่ง  มีการให้ความเห็นว่า  ผู้แทน  AICHR  มีความรับผิดชอบ
          ต่อรัฐบาลที่แต่งตั้ง  ซึ่งหมายถึงการขอรับนโยบายและรายงานการท�างานต่อรัฐบาล  (ซึ่งมีอ�านาจถอดถอนผู้แทนก่อนครบ
          วาระ)  ซึ่งความแตกต่างนี้ประกอบกับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานะของผู้แทนที่ได้กล่าวถึงข้างต้นที่ว่าผู้แทนส่วนใหญ่มีสถานะ





        84
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90