Page 80 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 80

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community





            เดียวกันกับ AEC ซึ่งเป็นเพียงประชาคมหนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจถือเป็นก�าลังขับเคลื่อนส�าคัญ

            ในประชาคมอาเซียน โดยจะท�าให้ปัจจัยการผลิตซึ่งรวมถึงสินค้า บริการแรงงานมีฝีมือและการจัดตั้งกิจการเคลื่อนย้ายได้
            อย่างเสรี หรือเสรีมากขึ้นในกรณีเงินทุนในเขตภูมิภาคอาเซียน แต่แม้ว่า AEC จะเป็นแรงขับเคลื่อนของประชาคมอาเซียน

            และอาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งในด้านบวกและลบต่อประเด็นสิทธิมนุษยชน แต่ในพิมพ์เขียว AEC 2015 หรือ ๒๕๕๘
            กลับไม่ปรากฏนโยบายหรือแผนงานในด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจน มีเพียงตัวชี้วัดบางประการซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
            สิทธิมนุษยชนอยู่บ้าง เช่นในขณะที่ AEC ก�าหนดเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเป็นธรรม (Equitable economic

            development) แต่ในรายละเอียดกลับปรากฏเพียงประเด็นการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เท่านั้น
            หรือมีนโยบายในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคแต่ก็มิได้ก�าหนดหน้าที่ให้กับผู้ผลิตแต่ประการใด  ซึ่งการที่  AEC  ไม่มีนโยบาย
            เป้าหมายหรือตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนนี้เอง  ท�าให้การผลักดันให้เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน

            โดย/หรือผ่านหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยากล�าบากในทางปฏิบัติ
                                ๓. ประชาคมการเมืองและความมั่นคง หรือ APSC มีความเกี่ยวพันกับสิทธิมนุษยชนหลายประการ
            โดยเฉพาะนโยบายการเข้าเมือง (Immigration policy) การปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational crimes)

            และประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น ภัยพิบัติ เป็นต้น นอกจากนั้น การที่ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
            ต่างประเทศอาเซียน (ASEAN Foreign Ministers Meeting: AMM) เป็นหน่วยงานหนึ่งภายใต้ APSC ท�าให้กลไกหลัก

            ในด้านสิทธิมนุษยชนอาเซียนซึ่งมีหน้าที่ต้องรายงานการด�าเนินการต่อ  AMM  ถือเป็นส่วนหนึ่งของ  APSC  อย่างไรก็ตาม
            APSC  ก�าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดด้านสิทธิมนุษยชนที่ยังมีลักษณะนามธรรม  กล่าวคือไม่แสดงรายละเอียดและก�าหนด
            หน้าที่ให้เฉพาะกับ AICHR ซึ่งต้องท�าหน้าที่ประสานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในประชาคมอื่น ๆ เพื่อให้ตระหนักถึงความ

            ส�าคัญและร่วมมือในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  ดังนั้น  ในข้อเท็จจริงจึงเกิดกรณีที่ว่า  AICHR  ยังไม่สามารถ
            ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่สังกัดหรืออยู่ภายใต้ AEC และ ASCC อย่างเป็นระบบ



                         ๖.๑.๒ วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๕
                                ในการประชุมผู้น�าอาเซียน (ASEAN  Summit) ครั้งที่ ๒๗  ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ ๒๒

            พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ที่ประชุมได้มีมติรับรองวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๕ พร้อมกับพิมพ์เขียวของทั้งสามประชาคม ซึ่งจะใช้
            แทนที่วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๑๕ ที่ได้วิเคราะห์ข้างต้น ซึ่งครบระยะเวลาด�าเนินการในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ โดยวิสัย
            ทัศน์ฉบับใหม่มีระยะเวลาด�าเนินการ ๑๐ ปี และมีโครงสร้างดังปรากฏในรูปที่ ๕ ทั้งนี้ สามารถแยกรายละเอียดหลักของ

            วิสัยทัศน์ของแต่ละประชาคมได้ ดังนี้


                                ๑. วิสัยทัศน์และพิมพ์เขียวประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC)

                                   เน้นการระบุสิ่งที่จะต้องปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป เพื่อให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายที่ระบุไว้
            ในวิสัยทัศน์ฯ โดยมีองค์ประกอบหลัก ๔ ประการ ได้แก่

                                   ๑) การเป็นประชาคมที่อยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ (Rules-based) มีค่านิยมร่วมกัน เช่น การ
            ส่งเสริมธรรมภิบาล และการเคารพความหลากหลาย และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-centred) ซึ่งหมายความว่า
            ประชาชนเป็นที่ตั้งของการพัฒนานโยบายอาเซียน และควรได้รับผลประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมจากการมีประชาคม

            อาเซียน





                                                                                                              79
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85