Page 88 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 88
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
มากยิ่งขึ้น แม้ว่าการประกอบอาชีพของแรงงานในประชาคมอาเซียนจะเปิดเสรีเฉพาะภาคแรงงานมีฝีมือเท่านั้น แต่การ
เปิดพรมแดนและการเดินทางติดต่อของประชากรอาเซียนเพื่อการค้าขาย ท่องเที่ยวและท�างานย่อมท�าให้เกิดความเสี่ยง
ของประชากรที่จะถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่าง ๆ สภาพของปัญหาที่จะมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นนี้ ท�าให้ต้อง
พิจารณาว่า การท�างานของคณะกรรมาธิการภายใต้ขอบเขตอ�านาจหน้าที่และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นตลอดหกปีที่ผ่านมา
จะสามารถเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนให้เกิดการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประชาคมอาเซียน
ได้อย่างแท้จริงหรือไม่
๖.๒.๒ ความท้าทายในการปรับปรุงกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน
ความท้าทายประการส�าคัญที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ต่อเนื่องกับปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งเป็นระยะ
เวลาที่ครบ ๖ ปีนับตั้งแต่มีการประกาศใช้เอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่คือการทบทวนเอกสารดังกล่าว ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า
คณะผู้ยกร่างเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการตระหนักถึงอุปสรรคในการเจรจาขอบเขตอ�านาจหน้าที่
ของคณะกรรมาธิการในระยะเริ่มแรก จึงได้ก�าหนดกระบวนการให้มีการทบทวน (Review) ขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของ
คณะกรรมาธิการเมื่อครบระยะเวลา ๕ ปีนับตั้งแต่มีการประกาศใช้ ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน
เป็นผู้มีอ�านาจด�าเนินการทบทวน โดยคณะกรรมาธิการจะท�าการประเมินการด�าเนินงานและจัดท�าข้อเสนอแนะเพื่อ
การทบทวนขอบเขตอ�านาจหน้าที่ต่อที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอาเซียน ซึ่งในแผนงาน ๕ ปีของ
คณะกรรมาธิการ ได้ก�าหนดให้คณะกรรมาธิการเริ่มการพิจารณากระบวนการทบทวนขอบเขตอ�านาจหน้าที่เพื่อเสริม
ภารกิจในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคณะกรรมาธิการ ในการนี้ ประเทศสมาชิกหลายประเทศได้เสนอ
แผนงานส�าหรับปี พ.ศ. ๒๕๕๗ หลายประการเพื่อให้มีการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงเอกสารขอบเขต
อ�านาจหน้าที่ เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์และไทยจะร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเพื่อพิจารณาการทบทวนเอกสาร
ดังกล่าว และประเทศไทยได้เสนอจัดประชุมในหัวข้อกลไกการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคซึ่งจะมี
การเปรียบเทียบกลไกสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอื่น ๆ เช่น อเมริกา ยุโรป อาฟริกา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเสนอแนะ
ปรับปรุงกลไกของอาเซียนต่อไป
๑. ความท้าทายในเนื้อหาของเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ฉบับใหม่
เอกสารขอบเขตหน้าที่ฉบับปัจจุบันถูกใช้เป็นแนวทางในการด�าเนินงานของคณะกรรมาธิการ
มาเป็นระยะเวลากว่า ๖ ปีนับแต่การจัดตั้งองค์กร อย่างไรก็ตาม เอกสารขอบเขตหน้าที่ยังปรากฏข้อจ�ากัดอยู่หลายประการ
เช่น ความไม่สมดุลในภารกิจด้านการคุ้มครองและด้านส่งเสริมสิทธิมนุษยชน บทบัญญัติต่าง ๆ ในเอกสารขอบเขตหน้าที่
ให้น�้าหนักไปที่ภารกิจด้านการส่งเสริมมากกว่าด้านการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน โดยมีเพียงข้อ ๔.๑๐ ที่ระบุให้
คณะกรรมาธิการสามารถขอรับข้อมูลจากประเทศสมาชิกในเรื่องสิทธิมนุษยชนที่แสดงถึงภารกิจด้านการคุ้มครองสิทธิ
มนุษยชนอย่างชัดแจ้ง ส่วนกลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญ คือ การรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ถูกละเมิด
สิทธิยังไม่ปรากฏในเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ กลไกในการรับเรื่องราวร้องทุกข์อาจถูกพัฒนาให้
เกิดขึ้นได้จากการใช้อ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการตามมาตรา ๔.๑๐ แต่ในทางปฏิบัติคณะกรรมาธิการมักประสบ
ปัญหาในการใช้กลไกตามข้อก�าหนดดังกล่าว อันเนื่องมาจากการต้องได้รับฉันทามติจากผู้แทนของทุกประเทศและประเด็น
การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนมักถูกพิจารณาว่าเป็นกิจการภายในของประเทศสมาชิก และการ
หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาเข้าข่ายเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้น นอกจากนี้ แม้จะ
มีบทบัญญัติบางมาตราในเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ที่เปิดช่องทางให้ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและ
87
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ