Page 90 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 90

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community





            Official Meeting on Transnational Crimes: SOMTC) ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ก่อนที่จะเริ่มเปิดประชาคมอาเซียน

            ในปลายปีเดียวกัน
                         แนวทางการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชนในด้านอื่นๆ จะอาศัยกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียนในการ

            ด�าเนินการ โดยหัวข้อที่อยู่ระหว่างการด�าเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ คือ การพัฒนาอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยแรงงาน
            ข้ามชาติที่อยู่ระหว่างการยกร่างและเจรจาโดยคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการอนุวัติการตามปฏิญญาการคุ้มครองและ
            ส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ  (ACMW)  ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวได้ก�าหนดหลักการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในอาเซียนไว้แล้ว

            แต่โดยที่มีสถานะเป็นเพียงพันธกรณีทางการเมือง  จึงขาดกลไกที่จะท�าให้เกิดผลผูกพันในการอนุวัติการในระดับประเทศ
            สมาชิก ทั้งนี้ ประเด็นที่ท�าให้การเจรจาอนุสัญญาดังกล่าวมีความล่าช้า คือ ท่าทีของประเทศสมาชิกต่อการให้ความคุ้มครอง
            แรงงานข้ามชาติในประเทศของตน ซึ่งแบ่งกลุ่มประเทศสมาชิกออกได้เป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มประเทศสมาชิกที่เป็นผู้

            ส่งแรงงานข้ามชาติ (Sending Countries) เช่น อินโดนีเซีย เมียนมาร์และฟิลิปปินส์ กลุ่มประเทศผู้รับแรงงานข้ามชาติ
            (Receiving Countries) เช่น บรูไน มาเลเซีย และสิงคโปร์ และกลุ่มประเทศที่เป็นทั้งผู้รับและผู้ส่ง เช่น ประเทศไทย จึง
            ท�าให้เห็นว่า แม้จะมีการแสดงออกร่วมกันทางการเมืองในระดับภูมิภาคในประเด็นสิทธิมนุษยชนใด ๆ แล้ว การจะท�าให้

            พันธกรณีดังกล่าวมีผลผูกพันทางกฎหมายยังต้องใช้เวลาและความเข้าใจร่วมกันอีกมาก
                         ส�าหรับการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชนโดยกลไกสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ของอาเซียน มีทิศทางของแต่ละ

            องค์กรหลัก ดังนี้


                         ๖.๓.๑ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR)

                                ส�าหรับ AICHR ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนหลักของอาเซียนที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ใน
            การประชุมผู้น�าอาเซียนที่หัวหิน เป็นองค์กรที่ยกร่างและเจรจาปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน และนับตั้งแต่มีการ

            ประกาศใช้ปฏิญญาดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในการประชุมผู้น�าอาเซียนที่กรุงพนมเปญ มีแนวทางในการหารือเกี่ยวกับ
            การพัฒนาตราสารด้านสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียนที่ส�าคัญสองประการ คือ
                                ๑. การจัดท�ารายงานสิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่อง (Thematic Studies on Human Rights)

                                   การจัดท�ารายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเฉพาะเรื่องในอาเซียน (Thematic studies) เป็น
                                           53
            อ�านาจหน้าที่ประการหนึ่งของ AICHR  โดยในวาระแรก (พ.ศ. ๒๕๕๓ - ๒๕๕๕) AICHR ได้มีมติให้จัดท�ารายงานสองเรื่อง
            คือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (Thematic studies on Corporate Social Responsibilities) และแรงงาน

            ข้ามชาติ (Migration) และในวาระที่สอง (พ.ศ ๒๕๕๖ - ๒๕๕๘) ได้มีมติให้จัดท�ารายงานเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง ได้แก่ สิทธิ
            ในสันติภาพ (Rights to Peace) สิทธิในชีวิตเฉพาะในประเด็นโทษประหารชีวิต (Right to Life: Death Penalty) การ
            ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (Legal Aid) การจัดการภัยพิบัติโดยเฉพาะต่อสตรีซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยง (Disaster Management

            especially on women) ซึ่งรายงานทั้งหมดที่มีมติให้จัดท�าในวาระที่สองนี้ จะเริ่มด�าเนินการในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ หรือปีที่
            เริ่มต้นของวาระที่สามของ AICHR ทั้งนี้ การขาดความพร้อมของประเทศสมาชิกในการคัดเลือกผู้จัดท�ารายงานสถานการณ์

            ของแต่ละประเทศตลอดจนความซับซ้อนของประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องท�าให้การจัดท�ารายงานมีความล่าช้า
            มาโดยตลอด  ซึ่งนับถึงปี  พ.ศ.  ๒๕๕๘  มีการน�าเสนอรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเพียงฉบับเดียว  คือฉบับที่ว่าด้วย
            ความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (CSR) ส่วนฉบับที่สอง คือ รายงานว่าด้วยแรงงานข้ามชาติยังอยู่ระหว่างการจัดท�าใน

            ขั้นตอนสุดท้าย


                    53    เอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ ข้อ ๔.๑๒

                                                                                                              89
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95