Page 84 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 84

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community






                     ๖.๒ การปรับปรุงโครงสร้างกลไกด้านสิทธิมนุษยชน



                         ประเด็นปัญหาและความท้าทายในการท�างานเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคณะ
            กรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนด้านสิทธิมนุษยชน (AICHR) ซึ่งเป็นกลไกสิทธิมนุษยชนหลักของอาเซียนและมีบทบาท

            ส�าคัญในการพัฒนาตราสารสิทธิมนุษยชนส�าหรับประชาคมอาเซียน ทั้งในระดับองค์กรและระดับปัจเจกบุคคลมีหลาย
            ประการ ในที่นี้จะสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นหลักบางประการ



                         ๖.๒.๑ ประเด็นปัญหา
                                ๑. การขาดความเข้าใจร่วมกันของประเทศสมาชิก

                                   ความเข้าใจร่วมกันต่อประเด็นสิทธิมนุษยชนนับเป็นพื้นฐานส�าคัญในการด�าเนินการและ
            สนับสนุนภารกิจด้านสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตาม การด�าเนินงานของ AICHR ยังประสบกับข้อจ�ากัด
            ในหลักการซึ่งเป็นผลจากการขาดความเข้าใจร่วมกันของทั้งประเทศสมาชิกและผู้แทนประเทศสมาชิกใน AICHR เกี่ยวกับ

            ประเด็นสิทธิมนุษยชน แม้ว่าเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่จะก�าหนดให้ประเทศสมาชิกค�านึงถึงความรู้ความสามารถ
            ด้านสิทธิมนุษยชนในการแต่งตั้งผู้แทนใน AICHR ก็ตาม สาเหตุของอุปสรรคนี้คือการขาดความตระหนักถึงความส�าคัญ
            ด้านประเด็นสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิก  แม้ว่าประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนจะเป็นหนึ่งในหลักการส�าคัญของการก่อตั้ง

            ประชาคมอาเซียน แต่สิทธิมนุษยชนยังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจน้อยกว่าประเด็นอื่น ๆ โดยเฉพาะประเด็นด้าน
            เศรษฐกิจ ทั้งนี้เพราะประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนถูกมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ประชาชนจึงมีแนวโน้มที่จะละเลยกับความจริง

            ที่ว่าประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐานซึ่งมีความเกี่ยวโยงแทบทุกด้านในชีวิตของมนุษย์  การตระหนักถึงความส�าคัญ
            ของประเด็นดังกล่าวมักจะมีขึ้นต่อเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้น
                                   ในกรณีทั่วไป ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนถูกพิจารณาว่าเป็นกรณีการปฏิบัติต่อประชาชน

            ของประเทศสมาชิกและการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาในระดับภูมิภาคอาจถือเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน
            (Interference) ของประเทศดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ในอีกหลายกรณีประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เรื่องระดับประเทศ

            เท่านั้น แต่ยังส่งผลในระดับภูมิภาค เนื่องจากผลของการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งอาจส่งผลต่อประเทศ
            อื่น ๆ ในภูมิภาค เช่น กรณีการหนีภัยของชาวโรฮิงญาจากประเทศสมาชิกอาเซียนประเทศหนึ่งไปยังอีกหลายประเทศสมาชิก
            ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นสถานะบุคคลและการปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยในประเทศอื่น  กรณีหมอกควันที่ส่งผลกระทบต่อหลายประเทศ

            ในภูมิภาค กรณีการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติ และกรณีการละเมิดสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนในประเทศซึ่ง
            เป็นผู้รับการลงทุนของบริษัทข้ามชาติ โดยเฉพาะสองประเด็นหลังที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงขึ้นภายหลังการก้าวไปสู่
            ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ การขาดความตระหนักถึงความส�าคัญด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศสมาชิกส่งผลต่อ

            ความร่วมมือด้านการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาค
                                   ในข้อเท็จจริง  ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีความแตกต่างและหลากหลายทั้งในแง่ระบอบการ
            ปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นข้ออธิบายถึงการเน้นถึงลักษณะจ�าเพาะ (Particularities) ของ

            แต่ละประเทศที่ต้องค�านึงถึงในการด�าเนินการด้านต่าง ๆ ของประชาคม อย่างไรก็ตาม ประเทศเหล่านี้ก็มีลักษณะร่วมกัน
            ในหลายประการเช่นกัน เช่น การมีวิถีชีวิตที่ให้ความส�าคัญกับชุมชนและท้องถิ่น ตลอดจนความเอื้ออาทรระหว่างคนต่าง

            กลุ่มชาติพันธุ์  การสร้างความตระหนักและเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสิทธิมนุษยชนในระดับภูมิภาคในฐานะหลักการพื้นฐาน




                                                                                                              83
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89