Page 87 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 87
AMM การจัดโครงสร้างลักษณะดังกล่าวท�าให้เกิดประเด็นการขาดความเชื่อมโยง ความร่วมมือและการประสานงานกับ
องค์กรในด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะองค์กรคณะกรรมาธิการอาเซียน
ว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก และคณะกรรมการอาเซียนด้านแรงงานอพยพ ซึ่งยังขาดการ
ประสานงานในด้านการวางแผนงานโครงการและการด�าเนินความสัมพันธ์กับองค์กรภายนอกประชาคม เพื่อป้องกันความ
ซ�้าซ้อนและก�าหนดแนวทางให้โครงการด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนมีประสิทธิภาพ
๕. การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการท�างาน
องค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organisations) ด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียนมี
ความตื่นตัวในการขับเคลื่อนการพัฒนาระดับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอย่างมาก และเรียกร้อง
การมีส่วนร่วมในการท�างานกับคณะกรรมาธิการอยู่เสมอ ทั้งนี้ กฎบัตรอาเซียนก�าหนดว่าอาเซียนอาจติดต่อกับองค์กร
ที่สนับสนุนกฎบัตรอาเซียนได้และก�าหนดให้คณะผู้แทนถาวร (Committee of Permanent Representatives) จัดท�า
หลักเกณฑ์การติดต่อโดยค�าแนะน�าของเลขาธิการอาเซียน และต่อมาคณะผู้แทนถาวรได้จัดท�าเอกสารแนวทางการรับรอง
องค์กรภาคประชาสังคม (Guidelines on Accreditation of Civil Society Organisations) ซึ่งองค์กรที่ได้รับการรับรอง
จะมีสิทธิ (Privileges) ตามที่ก�าหนดไว้ เช่น การใช้ค�าว่า “อาเซียน” ในชื่อองค์กร การจัดท�าข้อเสนอโครงการเพื่อรับ
การสนับสนุนด้านการเงินจากองค์กรภายนอกผ่านส�านักเลขาธิการอาเซียน และการจัดท�าข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อ
องค์กรในอาเซียน เป็นต้น ส�าหรับคณะกรรมาธิการเองได้มีการหารือเกี่ยวกับความจ�าเป็นและกระบวนการจัดท�าเอกสาร
แนวทางการมีส่วนร่วมหรือการติดต่อระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมและคณะกรรมาธิการตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และ
ได้พิจารณาปรับปรุงร่างแนวทางหลายครั้ง แต่เมื่อครบวาระการด�ารงต�าแหน่งของผู้แทนในคณะกรรมาธิการสมัยแรก
ท�าให้การพิจารณาร่างแนวทางสะดุดลง ประเด็นที่ส�าคัญคือปัจจุบันองค์กรภาคประชาสังคมหลายแห่งต้องการติดต่อ
โดยตรงกับคณะกรรมาธิการเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและความเห็นเกี่ยวกับงานด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน แต่การ
ขาดหลักเกณฑ์พิจารณาคุณสมบัติขององค์กรเหล่านี้มักถูกหยิบยกขึ้นเป็นประเด็นที่ท�าให้ไม่สามารถติดต่อประสานงาน
ระหว่างทั้งสองฝ่าย นอกจากนั้น ยังต้องพิจารณาว่า แนวทางที่คณะผู้แทนถาวรจัดท�าขึ้นเหมาะสมหรือสอดคล้องกับ
ลักษณะการติดต่อประสานงานระหว่างองค์กรภาคประชาสังคมและคณะกรรมาธิการในด้านการส่งเสริมและคุ้มครอง
สิทธิมนุษยชนซึ่งอาจต้องเปิดโอกาสให้องค์กรที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางหรือไม่ เมื่อมีการแต่งตั้งผู้แทน AICHR
ในรอบที่สอง ผู้แทนไทยใน AICHR ได้ริเริ่มการปรับปรุงร่างเอกสารแนวทางความสัมพันธ์ระหว่าง AICHR และ CSO
(Guidelines on AICHR’s Relations with CSOs) ซึ่ง AICHR ได้ใช้เวลาตลอดปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เจรจาและได้ลงมติรับรอง
52
แนวทางร่างเอกสารดังกล่าวในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้มีการรับรอง CSO แล้วจ�านวน ๕ แห่ง
๖. ขอบเขตอ�านาจหน้าที่และทิศทางการท�างาน
การเปิดประชาคมอาเซียนในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จะน�ามาสู่การเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ เงินทุน
และประชากรในภูมิภาคอาเซียนโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มภูมิภาคลุ่มน�้าโขง ซึ่งรวมประเทศไทย ลาว เวียดนาม เมียนมาร์
และกัมพูชา ซึ่งย่อมน�ามาสู่ประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่จะมีประเภทของปัญหาที่มากขึ้นและทวีความรุนแรง
52 แนวทางความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับองค์กรภาคประสังคม
(Guidelines on AICHR’s Relations with CSOs) ซึ่ง AICHR ได้ใช้เวลาตลอดปี พ.ศ. ๒๕๕๗ เจรจาและได้ลงมติรับรองแนวทางร่าง
เอกสารดังกล่าวในต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๘
86
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ