Page 89 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 89
เลขาธิการอาเซียนสามารถร้องขอให้คณะกรรมาธิการปฏิบัติภารกิจอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องได้ ซึ่งอาจน�าไปสู่การ
ร้องขอให้มีคณะกรรมาธิการมีการสร้างกลไกรับเรื่องราวร้องทุกข์ แต่จนกระทั่งถึงปัจจุบันทั้งสององค์กรยังไม่เคยมีการใช้
อ�านาจตามมาตราดังกล่าว ความคลุมเครือและการขาดการบัญญัติถึงกลไกรับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนท�าให้
คณะกรรมาธิการไม่สามารถปฏิบัติภารกิจด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพิจารณากระบวนการ
ตัดสินใจของคณะกรรมาธิการที่ใช้ฉันทามติเป็นหลัก ความคาดหวังของกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ต้องการให้มีการจัดตั้ง
“ศาลสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียน” ในลักษณะเดียวกับศาลสิทธิมนุษยชนยุโรปหรือภูมิภาคอื่น ๆ คงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
ยากยิ่งในทศวรรษนี้ สิ่งที่มีความเป็นไปได้มากกว่าคือการปรับปรุงข้อก�าหนดในเอกสารขอบเขตอ�านาจหน้าที่ให้มีความ
ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้คณะกรรมาธิการสามารถพิจารณาตรวจสอบประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศสมาชิก
ตลอดจนการเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงที่เหมาะสม
๒. ความท้าทายเกี่ยวกับการให้โอกาสผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรในภาคประชาสังคม
มีส่วนร่วมในกระบวนการปรับปรุงกลไกสิทธิมนุษยชน
AICHR มีประสบการณ์โดยตรงมาแล้วจากกรณีการยกร่างปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียนที่
ได้รับการวิจารณ์จากองค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่ไม่ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น
หรือเปิดเผยเอกสารเพื่อการหารือเท่าที่ควร ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นและอาจเกิดขึ้นได้อีกในกระบวนการทบทวนขอบเขต
อ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ คือ การสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้แทนในคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับการเปิด
โอกาสให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนรับรู้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของ (Ownership) ใน
กระบวนการและผลผลิตที่จะเกิดขึ้น
โดยสรุป การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน มีพัฒนาการที่ดีขึ้นเป็นล�าดับ
นับตั้งแต่มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนและคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ยังมีความ
ท้าทายอีกหลายประการที่ต้องได้รับการจัดการร่วมกันอย่างเป็นระบบและจริงจังจากประเทศสมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นระยะเวลาที่จะพิสูจน์ว่ากลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน
จะสามารถพัฒนาได้อย่างมีมาตรฐานทัดเทียมกับภูมิภาคอื่น ๆ หรือไม่ โดยจะเป็นระยะเวลาที่มีการปรับปรุงเอกสารขอบเขต
อ�านาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการตลอดจนกฎบัตรของอาเซียน ซึ่งเป็นความหวังของประชาชนอาเซียนว่าจะเป็นเสาหลัก
ที่จะท�าให้สิทธิมนุษยชนของประชาชนอาเซียนได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
๖.๓ การพัฒนาตราสารด้านสิทธิมนุษยชน
ปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน (AHRD) เป็นตราสารระดับภูมิภาคที่แสดงให้เห็นถึงเจตจ�านงทางการเมือง
ของรัฐสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่างๆ และจะถูกใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการพัฒนา
ตราสารสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ของอาเซียน ทั้งที่เป็นตราสารทางการเมือง เช่น ปฏิญญาหรือแผนงานระดับภูมิภาค (Regional
Plan of Action) และที่เป็นตราสารทางกฎหมาย เช่น อนุสัญญา โดยทิศทางเริ่มมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นเมื่อผู้น�าอาเซียน
รับรองอนุสัญญาอาเซียนต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention against Trafficking,
Especially Women and Children) ซึ่งผ่านการเจรจาโดยที่ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Senior
88
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ