Page 81 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 81
๒) การเป็นประชาคมที่มีความมั่นคง เสถียรภาพและสันติภาพ (Peaceful, Secure and
Stable Region) สามารถตอบสนองต่อความท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยยึดหลักการของ
ความมั่นคงอย่างครอบคลุม (comprehensive security) ในการนี้ ประชาคมอาเซียนควรมีความสามารถในการแก้ไข
ปัญหาความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ซึ่งรวมถึงปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ ปัญหาผลกระทบทางลบจากการ
มีความเชื่อมโยงมากขึ้นในภูมิภาค และปัญหาความมั่นคงทางทะเล เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพใน
ภูมิภาค ซึ่งเป็นปัจจัยส�าคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและมีพลวัต
๓) การรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมของภูมิภาคและในการด�าเนิน
ความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก (ASEAN Centrality) เพื่อให้อาเซียนมีบทบาทน�าและมีท่าทีร่วมกันมากยิ่งขึ้นในเรื่องที่เป็น
ผลประโยชน์ร่วมกันในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย–แปซิฟิก
๔) การมีสถาบันและกลไกอาเซียน รวมถึงส�านักงานเลขาธิการอาเซียนที่เข้มแข็งและ
มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการรวมตัวเป็นประชาคม (Strengthened ASEAN
Institutional Capacity)
ASEAN Community
APSC (Vision 2025) ASCC
RULES-BASED, PEOPLE-ORIENTED, AEC ENGAGES AND BENEFITS
PEOPLE-CENTRED COMMUNITY THE PEOPLE
A HIGHLY INTEGRATED AND
PEACEFUL, SECURE AND STABLE REGION COHESIVE ECONOMY INCLUSIVE
A COMPETITIVE, INNOVATIVE SUSTAINABLE
ASEAN CENTRALITY IN A DYNAMIC AND DYNAMIC ASEAN
AND OUTWARD-LOOKING REGION RESILIENT
ENHANCED CONNECTIVITY AND
STRENGTHENED ASEAN INSTITUTIONAL SECTORAL COOPERATION
CAPACITY AND PRESENCE DYNAMIC
A RESILIENT, INCLUSIVE, PEOPLE-
ORIENTED AND PEOPLE-
CENTRED ASEAN
A GLOBAL ASEAN
รูปภาพที่ ๖ โครงสร้างพิมพ์เขียวของประชาคมอาเซียนใหม่ (ประชาคมการเมืองและความมั่นคง
ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม) ตามวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๕
(ที่มา: http://asean.org/resoruce/asean-resources-kit/)
80
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ