Page 82 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 82
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
๒. วิสัยทัศน์และพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
องค์ประกอบหลัก ๕ ด้านของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ๒๐๒๕ มีดังนี้
๑) มีการรวมตัวสูง (an Integrated and Highly Cohesive Economy) ประกอบด้วย การ
เปิดเสรีสินค้า โดยมุ่งเน้นการอ�านวยความสะดวกทางการค้า ยกเลิก/ลดมาตรการที่มิใช่ภาษีปรับปรุงกระบวนการพิธีการ
ศุลกากร ปรับประสานมาตรฐานให้สอดคล้องกัน การเปิดเสรีการค้าบริการและส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านการลงทุน
การเปิดเสรีบริการด้านการเงินและพัฒนาและรวมตัวตลาดทุน และการอ�านวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือ
และนักธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิกอาเซียนในห่วงโซ่มูลค่าโลก
๒) ความสามารถการแข่งขัน นวัตกรรม และพลวัต (Competitive, Innovative and Dynamic
ASEAN) มุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรมและความพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลง
อาทิ นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค ทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี ความร่วมมือด้านภาษี
(taxation issues) การยึดหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้มีกฎระเบียบ และหลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพ
สอดคล้องและสามารถพร้อมตอบสนองได้มากขึ้นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยค�านึงถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่
ส�าคัญของโลก (global mega trends) และประเด็นการค้าใหม่ๆ
๓) ขยายการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและการรวมตัวรายสาขา (Enhancing Economic
Connectivity and Sectoral Integration) มุ่งเน้นการส่งเสริมและบูรณาการด้านการขนส่งในภูมิภาคเพื่อให้สามารถ
เข้าถึงได้ มีค่าขนส่งที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ แข่งขันได้ ยั่งยืนและปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าและ
ประชาชนอย่างไร้พรมแดน ส่งเสริมความร่วมมือด้านเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ และด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งการเชื่อมโยงด้านพลังงาน และมุ่งเน้นการรวมกลุ่มรายสาขาต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ การเงิน อาหาร
เกษตรและป่าไม้ การท่องเที่ยว สุขภาพ เหมืองแร่และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๔) เป็นประชาคมที่ครอบคลุมทุกภาคส่วน ยืดหยุ่น และมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเน้น
ประชาชนเป็นหลัก (Resilient, Inclusive, People-Oriented and People Centered ASEAN) มุ่งสร้างความเข้มเข็ง
แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) การเพิ่มบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ความร่วมมือระหว่าง
ภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership) การลดช่องว่างด้านการพัฒนาการเข้าถึงแหล่งเงินอย่างทั่วถึง และการ
มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็น/ข้อริเริ่มด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ
๕) เป็นส่วนส�าคัญของประชาคมโลก (Global ASEAN) โดยจัดท�าแนวทาง เชิงยุทธศาสตร์และ
มีความสอดคล้องกันในการด�าเนินความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับภายนอกภูมิภาค การทบทวน/ปรับปรุงความตกลงการค้า
เสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่เจรจาที่มิได้มี FTA และการมี
ส่วนร่วมกับพันธมิตรทั้งในระดับภูมิภาคและโลก สนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเชิงรุกในเวที
ระดับภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับสถาบันต่างๆ ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค
๓. วิสัยทัศน์และพิมพ์เขียวประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (APSC)
๑) เป็นประชาคมที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ (Engages and Benefits) มุ่งเสริมสร้างความ
มุ่งมั่นการมีส่วนร่วม และความรับผิดชอบทางสังคมของประชาชนอาเซียน ผ่านกลไกที่สามารถตรวจสอบได้และมีความ
ครอบคลุมเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมความคิดริเริ่มที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนอาเซียน ภายใต้
หลักการของธรรมาภิบาล
81
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ