Page 83 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 83
๒) มีความครอบคลุม (Inclusive) มุ่งส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ส่งเสริมและ
พิทักษ์สิทธิมนุษยชน มุ่งจัดการกับอุปสรรคในการเข้าถึงสิทธิและโอกาสอย่างเท่าเทียมส�าหรับประชาชนอาเซียน และมุ่ง
ส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงานต่างด้าว กลุ่มชาติพันธุ์ และกลุ่มผู้ด้อย
โอกาสและกลุ่มบุคคลชายขอบ ตลอดทุกช่วงวัย
๓) มีความยั่งยืน (Sustainable) มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่สมดุลและ
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการ ทั้งในปัจจุบันและอนาคตของประชาชนอาเซียน
๔) มีภูมิคุ้มกัน (Resilient) มุ่งยกระดับความสามารถและศักยภาพในการปรับตัวและตอบสนอง
ต่อความเสี่ยงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เช่นเดียวกับภัย
คุกคามที่อุบัติขึ้น และความท้าทายต่าง ๆ
๕) มีพลวัต (Dynamic) มีเป้าหมายในการเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
อย่างต่อเนื่องและเป็นสมาชิกประชาคมโลกที่มีบทบาทสูง เสริมสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออ�านวยกล่าว คือ นโยบายและ
สถาบันที่เสริมสร้างให้คนและองค์กรเปิดกว้างและปรับตัวมากขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และมีทักษะของ
การเป็นผู้ประกอบการ
จากเป้าหมายวิสัยทัศน์หลักของประชาคมทั้งสามข้างต้น
สามารถวิเคราะห์ประเด็นพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนได้ ดังนี้
๑. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม หรือ ASCC ยังคงเป็นประชาคมที่ก�าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดใน
ด้านสิทธิมนุษยชนที่ชัดเจนที่สุดในบรรดาสามประชาคม และในวิสัยทัศน์ ๒๐๒๕ ยังได้เพิ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นอีก
หลายประการที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิมนุษยชน เช่น การน�าหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการก�ากับการ
ด�าเนินการของประชาคมอาเซียนเพื่อประโยชน์ของประชาชน การก�าหนดให้หลักการความยั่งยืนเป็นหลักการ
ส�าคัญของประชาคม และหลักการภูมิคุ้มกันหรือความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความเสี่ยงทางด้านสังคมและ
เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นประเด็นที่ไม่ปรากฏในวิสัยทัศน์ปี ๒๐๑๕
๒. ประชาคมเศรษฐกิจ หรือ AEC ก�าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ส�าคัญส�าหรับประเด็นสิทธิมนุษยชน
สองประการ คือ ธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้สามารถขยายผลในทางปฏิบัติ
ในการสร้างความร่วมมือระหว่างประชาคมต่าง ๆ เพื่อจัดท�าโครงการหรือการด�าเนินการที่จะเสริมสร้างความ
ตระหนักรู้หรือการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทั้งในระดับอาเซียนและประเทศสมาชิกได้ เช่น การจัดท�าโครงการหรือ
การศึกษาผลกระทบจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเชื่อมต่อในอาเซียน (ASEAN Connectivity)
ต่อความยั่งยืนของธรรมชาติ หรือการส่งเสริมธรรมาภิบาลซึ่งรวมถึงหลักการสิทธิมนุษยชนในภาคส่วนต่างๆ
๓. ส�าหรับประชาคมความมั่นคงและการเมือง หรือ APSC ก�าหนดวิสัยทัศน์ที่มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับ
ที่ปรากฏในวิสัยทัศน์ปี ๒๐๑๕ แต่ได้ก�าหนดรายละเอียดส�าหรับ AICHR เพิ่มเติมขึ้นอย่างมีนัยส�าคัญซึ่งสามารถ
ดูได้เพิ่มเติมในเอกสารภาคผนวก ๑๐
โดยสรุป ในภาพรวมวิสัยทัศน์อาเซียนและพิมพ์เขียวประชาคมฉบับใหม่ยังคงยึดโครงสร้าง
วิสัยทัศน์ฉบับเดิมในการด�าเนินการ และยังมีลักษณะขาดความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างเนื้อหาในแต่ละเสา อย่างไรก็ตาม
เนื้อหาของเอกสารวิสัยทัศน์ฉบับใหม่ได้ก�าหนดประเด็นและเนื้อหาเพิ่มเติมขึ้นบางประการที่น่าจะท�าให้การแทรกซึม
(Mainstream) หลักการสิทธิมนุษยชนสามารถด�าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้จะยังคงเป็นความ
ท้าทายในการด�าเนินการด้านสิทธิมนุษยชนในภาคปฏิบัติซึ่งมีความเกี่ยวพันกับทุกเสาต่อไป
82
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ