Page 78 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 78
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
๖.๑.๑ วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๑๕
สมควรสร้างความชัดเจนในด้านประวัติศาสตร์ว่า วิสัยทัศน์อาเซียนเป็นเอกสารที่เกิดขึ้นก่อนการ
พัฒนากฎบัตรอาเซียน โดยวิสัยทัศน์ฉบับแรก จัดท�าขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่ออาเซียนครบรอบ ๓๐ ปี และใช้ชื่อเอกสาร
ว่า “วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐” (ASEAN Vision 2020) ซึ่งเอกสารดังกล่าวก�าหนดวิสัยทัศน์ให้อาเซียนเป็นการรวมตัวที่
สอดประสานกันของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการมองการณ์ไกล อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีความมั่นคง
และรุ่งเรือง ผูกพันกันด้วยความเป็นพันธมิตรในการพัฒนาอย่างมีพลวัตและในประชาคมที่มีสังคมซึ่งห่วงใยกัน ต่อมา
ผู้น�าอาเซียนในการประชุมครั้งที่ ๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้ก�าหนดให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนขึ้นอย่างเป็นทางการ และใน
ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้น�าอาเซียนได้มีมติเร่งรัดให้จัดตั้งประชาคมอาเซียนให้แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และก�าหนดพิมพ์เขียว
ของแต่ละประชาคมขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของเอกสารวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๑๕ และพิมพ์เขียวของประชาคมทั้งสามแห่งในการ
วิเคราะห์ในส่วนนี้
ด้วยข้อจ�ากัดของกฎบัตรอาเซียนที่ก�าหนดพันธกรณีที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศ
สมาชิก แต่ไม่มีการก�าหนดรายละเอียดที่จ�าเป็นในการอนุวัติการหรือน�าไปสู่การปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิก ดังนั้น
ผู้น�าอาเซียนจึงได้จัดท�าวิสัยทัศน์อาเซียน (ASEAN Vision) และพิมพ์เขียว (Blueprint) ของประชาคมอาเซียนทั้งสาม
ด้านโดยเอกสารฉบับแรกก�าหนดระยะเวลาการด�าเนินการจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งในแต่ละประชาคม หรือ “เสา” (Pillar)
จะก�าหนดเป้าหมายการด�าเนินการของตนเองดังปรากฏในรูปที่ ๔ โดยในเสาการเมืองและความมั่นคง (APSC) มีเป้าหมาย
สามประการ คือ การเป็นประชาคมที่ตั้งอยู่บนกฎเกณฑ์ที่มีบรรทัดฐานและคุณค่าร่วมกัน การเป็นภูมิภาคที่มีความ
กลมกลืน สันติภาพและยืดหยุ่น และการเป็นภูมิภาคที่มีพลวัต ในเสาเศรษฐกิจ (AEC) มีเป้าหมายสี่ประการ คือ การเป็น
ฐานการผลิตและตลาดเดียวกัน การเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจแข่งขันสูง มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม และมีการ
บูรณาการกับเศรษฐกิจโลก ส่วนเสาสังคมและวัฒนธรรม (ASCC) มีเป้าหมายห้าประการ คือ การพัฒนามนุษย์ การคุ้มครอง
และสังคมสงเคราะห์ สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
แม้ว่ากฎบัตรอาเซียนจะรับรองให้สิทธิมนุษยชนเป็นคุณค่า เป้าหมายและหลักการร่วมกันของ
อาเซียนก็ตาม ความท้าทายและอุปสรรคที่ท�าให้ประเด็นสิทธิมนุษยชนไม่อยู่ในความตระหนักรู้ของประชาคมอาเซียน
เท่าที่ควร เกิดจากสาเหตุหลักจากการที่ในภาคปฏิบัติและในเชิงโครงสร้างของอาเซียนมีการแยกส่วนภารกิจความรับผิดชอบ
ของแต่ละประชาคม (Compartmentalization) หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่ามีการแยกการด�าเนินการของแต่ละ “เสา”
ออกจากกันและขาดการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ท�าให้สิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นประเด็นที่มีความเกี่ยวพันกับทุก
ประชาคม (Crosscutting issue) ไม่ถูกน�าไปเป็นนโยบายและเป้าหมายของแต่ละเสา คงปรากฏความชัดเจนเฉพาะใน
เสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ท�าให้ประเด็นสิทธิมนุษยชนกลายเป็นประเด็นสวัสดิการสังคม และขาดมุมมองพื้นฐาน
ของสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนและมิใช่เป็นเพียง “ผู้รับ” ประโยชน์จากสวัสดิการ
สังคมเท่านั้น
77
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ