Page 77 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 77
ทิศทางการพัฒนาและความท้าทาย
ด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
บทที่ ๖ เป็นการน�าเสนอทิศทางการพัฒนาและความท้าทายด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน โดยมีประเด็นหลักใน
การวิเคราะห์สามประการ คือ
๑) วิสัยทัศน์และพิมพ์เขียวของประชาคมอาเซียน
๒) ความท้าทายของกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียนโดยเน้นที่คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน (AICHR)
๓) แนวทางการพัฒนาตราสารด้านสิทธิมนุษยชนในอาเซียน
๖.๑ วิสัยทัศน์และพิมพ์เขียวของประชาคมอาเซียน (ASEAN Vision and Community
Blueprints)
พัฒนาการที่ส�าคัญที่สุดในแง่โครงสร้างของอาเซียน คือ การตรากฎบัตรอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งมีผลใช้
บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยกฎบัตรอาเซียนถือเป็นธรรมนูญของอาเซียนที่มีสภาพนิติบุคคลแยกต่างหากจากประเทศสมาชิก
ที่ปัจจุบันมีจ�านวน ๑๐ ประเทศ ดังที่ได้วิเคราะห์ในบทที่ ๓ แล้วว่า กฎบัตรอาเซียนได้ก�าหนดให้อาเซียนมีเป้าหมายในการ
49
ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และยังมีหลักการให้ความเคารพเสรีภาพขั้นพื้นฐานและส่งเสริม
50
และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน อีกทั้งยังก�าหนดจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนส�าหรับอาเซียนขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย 51
49
มาตรา ๑ (๗) แห่งกฎบัตรอาเซียน
50
มาตรา ๒ (i) แห่งกฎบัตรอาเซียน
51
มาตรา ๑๔ แห่งกฎบัตรอาเซียน
76
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ