Page 31 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 31

(๖) อนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือ
                                   ที่ย�่ายีศักดิ์ศรี (Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading

                                   Treatment or Punishment: CAT)
                              (๗) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities:
                                  CRPD)

                              (๘) อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ
                                   (International Convention for the Protection of All Persons from Enforced

                                   Disappearance: CED) 6
                              (๙) อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานโยกย้ายถิ่นฐานและสมาชิกในครอบครัว
                                      (Convention on the Protection of the Rights of Migrants Workers and Member

                                   of their Families: CMW) 7



                              ประเด็นที่ส�าคัญที่สุดในแง่กลไกการบังคับใช้พันธกรณีที่เกิดจากสนธิสัญญาทั้ง ๙ ฉบับข้างต้น
          คือ การจัดตั้งหน่วยงานโดยเฉพาะในรูปแบบคณะกรรมการเพื่อการก�ากับดูแลการอนุวัติการและความก้าวหน้าในการ
          อนุวัติการตามพันธกรณี  โดยประเทศสมาชิกมีหน้าที่ต้องจัดท�ารายงานการอนุวัติการตามอนุสัญญาที่ได้เข้าเป็นภาคีไปยัง

          คณะกรรมการประจ�าแต่ละอนุสัญญาตามระยะเวลาที่ก�าหนด  แต่ส�าหรับการพิจารณาเรื่องราวร้องเรียนกรณีที่ประเทศสมาชิก
          ไม่ปฏิบัติตามพันธกรณีนั้น มักมีเงื่อนไขที่ประเทศสมาชิกต้องเข้าเป็นภาคีในพิธีสารเลือกรับ (Optional protocol) ที่ก�าหนด
          กระบวนการส่งเรื่องราวร้องเรียน เช่น กรณีอนุสัญญาสิทธิเด็กที่มีพิธีสารเลือกรับฉบับที่ ๓ ก�าหนดเงื่อนไขและกระบวนการ

          ส่งเรื่องราวร้องเรียน หรือไม่ตั้งข้อสงวนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการส่งเรื่องราวร้องเรียนที่ก�าหนดไว้ในอนุสัญญานั้น เช่น กรณี
          อนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ เป็นต้น





                  ๒.๓ กลไกและมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค


                       กลไกระดับภูมิภาคถือเป็นประเด็นหลักในการศึกษาวิเคราะห์ในรายงานฉบับนี้ เนื่องจากพันธกรณีด้าน
          สิทธิมนุษยชนในอาเซียนมีพัฒนาการหรือแรงขับเคลื่อนที่ส�าคัญจากกลไกสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ในหัวข้อนี้จึงจะ

          วิเคราะห์ถึงโครงสร้างและรูปแบบกลไกสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอื่นเพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบกับกลไกสิทธิมนุษยชนใน
          อาเซียนที่จะกล่าวถึงในบทต่อไป

                       ปฏิญญาและแผนงานแห่งกรุงเวียนนา (VDPA) รับรองความส�าคัญของกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคว่า
          “มีบทบาทส�าคัญในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  โดยกลไกเหล่านี้ควรเสริมสร้างมาตรฐานสากลและการคุ้มครอง







                    6    ประเทศไทยร่วมเป็นภาคีสมาชิกแล้ว แต่ยังไมได้ให้สัตยาบัน
                    7
                      ประเทศไทยยังไม่เป็นภาคีสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว


        30
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36