Page 27 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 27

นอกจากนั้น หลักการสิทธิมนุษยชนโดยทั่วไปยังประกอบด้วยหลักการส�าคัญอื่น ๆ ได้แก่


                 •  สิทธิมนุษยชนมีความเป็นสากลและถ่ายโอนให้บุคคลอื่นมิได้ (Universality and Inalienability)

                    หลักการข้อนี้หมายความว่า สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนมี และเป็นสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมา
                 ตั้งแต่เกิดโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ สิทธิมนุษยชนยังเป็นสิ่งที่ไม่สามารถถ่ายโอนให้ผู้ใดได้ และไม่มีผู้ใด

                 สามารถพรากสิ่งดังกล่าวไปจากผู้ทรงสิทธิได้ ยกเว้นในกรณีที่เป็นไปตามกฎหมายเท่าที่จ�าเป็น เช่น สิทธิ
                 เสรีภาพของบุคคลอาจถูกจ�ากัดหากพบว่าบุคคลผู้นั้นกระท�าความผิดทางอาญา เป็นต้น


                 •  สิทธิมนุษยชนเป็นสิทธิที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้ (Indivisibility)

                   สิทธิมนุษยชนมีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และยัง

                 ครอบคลุมบุคคลทุกประเภท โดยเฉพาะคนที่มีความต้องการเป็นพิเศษกลุ่มต่าง ๆ เช่น คนพิการ เด็ก และ
                 ผู้สูงอายุ  เป็นต้น  สิทธิมนุษยชนแต่ละประเภทล้วนมีความส�าคัญและแบ่งแยกไม่ได้  สิทธิมนุษยชนในเรื่องหนึ่ง
                 ย่อมมีความเชื่อมโยงและเป็นปัจจัยส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนด้านอื่น และการปฏิเสธสิทธิมนุษยชน

                 ด้านหนึ่งก่อให้เกิดอุปสรรคในการใช้สิทธิเรื่องอื่น ๆ ตามมา หลักการดังกล่าวได้สะท้อนในมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
                 ระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human
                 Rights) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on

                 Civil and Political Rights) และปฏิญญาและแผนปฏิบัติการกรุงเวียนนาปี พ.ศ. ๒๕๓๖


                 •  สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องและพึ่งพากัน (Interdependence and Interrelatedness)

                   สิทธิมนุษยชนแต่ละประเภทมีความเกี่ยวข้องกันและต่างช่วยส่งเสริมซึ่งกันและกัน  เช่น  สิทธิในการเข้าถึง
                 บริการสุขภาพ ต้องพึ่งพาการมีสิทธิประเภทอื่น ๆ เช่น สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล และสิทธิทางศึกษา เป็นต้น






                  ๒.๒ มาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ


                       มาตรฐานสิทธิมนุษยชน (Human Rights Standards) ในระดับระหว่างประเทศเป็นประเด็นส�าคัญที่ท�าให้มี

          การขับเคลื่อนด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับประเทศ และเป็นที่น่าสังเกตว่าพัฒนาการของมาตรฐาน
          สิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศมีความคล้ายคลึงกับพัฒนาการตราสารสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคอาเซียน  กล่าวคือ

          ต่างมีที่มาจากตราสารทางการเมืองที่ได้รับการพัฒนา ต่อมา เป็นพันธกรณีทางกฎหมาย โดยมีการจัดท�ามาตรฐานในแต่ละ
          หัวข้อเป็นการเฉพาะ แต่ข้อแตกต่างที่ส�าคัญ คือ โครงสร้างกลไกและสถาบัน และจ�านวนตราสารที่สามารถพัฒนาได้
          โดยส�าหรับอาเซียนยังถือว่าอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น ดังที่จะได้อธิบายต่อไป ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงมาตรฐานสิทธิมนุษยชน

          ในระดับระหว่างประเทศหรือระบบสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (United Nations Human Rights System)





       26
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32