Page 26 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 26

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community





            เช่น ในข้อ ๑ (๓) ก�าหนดวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์กรสหประชาชาติว่าเป็นไป “เพื่อบรรลุความร่วมมือระหว่าง

            ประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม และเพื่อส่งเสริมและผลักดันสิทธิมนุษยชน
            และสิทธิขั้นพื้นฐาน โดยปราศจากการแบ่งแยกด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา และศาสนา” และในข้อ ๕๕ และ ข้อ ๕๖ ซึ่ง

            ก�าหนดกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจและสังคมโดยยึดความเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
            และการก�าหนดเจตจ�านงของตนเองของประชาชนเป็นมูลฐาน ต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนได้ถูกจ�าแนก
            ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ซึ่งถูกระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (Universal Declaration of

            Human Rights) ซึ่งถือเป็นแม่บทของหลักการสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน โดยประเภทของสิทธิมนุษยชนในปฏิญญาดังกล่าว
            ได้แก่ สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and Political Rights) และสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
            (Economic, Social and Cultural Rights) แม้ว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติจะไม่มีผลผูกพันทาง

            กฎหมายแก่ประเทศสมาชิก  แต่ปฏิญญาดังกล่าวน�าไปสู่การร่างอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศอีกหลายฉบับ
            ในเวลาต่อมา
                         แม้ว่านิยามของ “สิทธิมนุษยชน” จะไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนในตราสารทั้งสองดังที่กล่าวมา แต่ได้มี

            การก�าหนดนิยามของค�าดังกล่าวไว้อย่างหลากหลาย เช่น
                         • พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๓

                            ระบุว่า “สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคลที่
            ได้รับการรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่
            ประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตาม” (ส�านักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ๒๕๔๒.)

                         • ส�านักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations High
            Commissioner for Human Rights)

                            ระบุว่า “สิทธิมนุษยชน หมายถึง สิทธิซึ่งถูกถ่ายทอดแก่มนุษย์ทุกคน โดยไม่ค�านึงถึงความแตกต่างด้าน
            สัญชาติ ที่พ�านัก เพศ เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ สีผิว ศาสนา ภาษา หรือสถานะอื่น ๆ มนุษย์ทุกคนล้วนมีความเท่าเทียมในสิทธิ
            ของตนโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติและแบ่งแยก  โดยสิทธิเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้อง  พึ่งพากัน  และถ่ายโอนให้บุคคลอื่น
                 2
            มิได้”


                         จากค�าจ�ากัดความข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าสิทธิมนุษยชน คือ สิทธิขั้นพื้นฐานอันเกิดจากศักดิ์ศรีความเป็น

            มนุษย์ที่ติดตัวบุคคลตลอดไป ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา หรือเขตปกครองใด ๆ สิทธิมนุษยชนยังเป็นสิ่งที่บุคคล
            แต่ละคนมีอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน และเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของแต่ละรัฐและในทาง
            ระหว่างประเทศด้วย

                         สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงได้อย่างเท่าเทียมกันและปราศจากการเลือกปฏิบัติ (Equality and Non-
            discrimination) หลักการไม่เลือกปฏิบัตินับเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน โดยตระหนักว่ามนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี

            ในความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น บุคคลจึงมีสิทธิพื้นฐานที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีเชื้อชาติ
            เผ่าพันธุ์ สีผิว เพศสภาวะ อายุ ภาษา ศาสนา ความผิดปกติทางกายภาพ พื้นเพทางสังคม หรือสภาพอื่นๆ ที่แตกต่างจาก
            บุคคลอื่น ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล



                    2
                      From What are Human Rights, by the Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights
            (OHCHR). Retrieved from http://www.ohchr.org/EN/Issues/Pages/WhatareHumanRights.aspx
                                                                                                              25
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31