Page 36 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 36

พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
                                                                          Human Rights Obligations of the ASEAN Community





                                                                                               18
            โดยมีสภาพเป็นตราสารสิทธิมนุษยชนที่มีผลบังคับทางกฎหมายและในปัจจุบันมีสมาชิก ๕๓ ประเทศ  และในปี ๒๕๔๓
            หรือ ค.ศ. ๒๐๐๐ ได้มีการตราบทบัญญัติธรรมนูญจัดตั้งสหภาพอาฟริกา (Constitutive Act of the African Union) ขึ้น
                                 19
            ซึ่งมีผลใช้บังคับในปีถัดมา  โดยประเด็นที่น่าสังเกตของธรรมนูญจัดตั้ง AU ซึ่งสามารถใช้เปรียบเทียบกับกฎบัตรอาเซียน
                                                                                                    20
            ได้ต่อไป คือ การที่เอกสารดังกล่าวก�าหนดหลักการห้ามการแทรกแซงในกิจการภายในของประเทศสมาชิก และการให้
            ความเคารพหลักประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน นิติรัฐและธรรมาภิบาลเช่นเดียวกับกฎบัตรอาเซียน แต่ก็ได้ก�าหนดหลักการ
            ให้สิทธิ AU ในการเข้าแทรกแซงสมาชิกตามค�าตัดสินของสมัชชา (Assembly) ในกรณีสถานการณ์รุนแรง ซึ่งได้แก่
                                                                        21
            อาชญากรรมสงคราม การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  และยังให้สิทธิประเทศสมาชิกในการร้องขอให้
            AU เข้าแทรกแซงกิจการภายในเพื่อฟื้นฟูสันติภาพและความมั่นคง 22
                                กฎบัตรอาฟริกามีข้อแตกต่างที่ส�าคัญจากตราสารสิทธิมนุษยชนในอีกสองภูมิภาคที่ได้กล่าวถึง

            ข้างต้น คือ ได้ก�าหนดสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจไว้หลายประการซึ่งมีความเท่าเทียมกันในแง่ที่สามารถได้รับการพิจารณา
                                                                                     23
            โดยองค์กรตุลาการได้ (Justiciable) เช่นเดียวกันกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  และการรองรับสิทธิของกลุ่ม
            ประชาชน (Collective Rights) เช่น สิทธิของประชาชนในการมีอยู่ (Right to Existence) สิทธิในการตัดสินใจด้วยตนเอง

            (Right to Self-Determination) สิทธิในการพัฒนา (Right to Development) สิทธิในความมั่นคงและสันติภาพระหว่าง
            ประเทศ (Right to International Peace and Security) และสิทธิในสภาพความเป็นอยู่ที่เป็นที่น่าพอใจโดยทั่วไป (Right

            to Generally Satisfactory Environment) ซึ่งสิทธิของกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีสถานะเท่าเทียมกับสิทธิอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะ
            เป็นสิทธิของปัจเจกบุคคล
                                ในระยะเริ่มแรกการก�ากับดูแลการอนุวัติการตามกฎบัตรอาฟริกาเป็นภารกิจของคณะกรรมาธิการ

            อาฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชน (African Commission on Human and Peoples’ Rights) แต่ต่อมา
            ในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๑  ได้มีการตราพิธีสารเลือกรับตามกฎบัตรอาฟริกาเพื่อจัดตั้งศาลอาฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิ

            ประชาชน (African Court on Human and Peoples’ Rights) ซึ่งมีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ นอกเหนือจากกฎบัตร
            บันจุลและพิธีสารเลือกรับเพื่อจัดตั้งศาลอาฟริกาแล้ว OAU หรือ AU ยังได้จัดท�าตราสารด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ อีก เช่น
                                • กฎบัตรอาฟริกาว่าด้วยสิทธิและสวัสดิภาพของเด็ก  (African  Charter  on  the  Rights  and

            Welfare of the Child 1990) ซึ่งตราขึ้นเพื่อให้มีการอนุวัติการตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขององค์การสหประชาชาติ
            โดยได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการสิทธิเด็กแห่งอาฟริกาซึ่งมีอ�านาจตรวจสอบรายงานของประเทศสมาชิกและรับเรื่องราวร้อง
            เรียนจากบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดจนด�าเนินการสอบสวนกรณีดังกล่าว



                    18  จากประเทศในทวีปอาฟริกาทั้งหมดจ�านวน ๕๔ ประเทศ โดยมีข้อยกเว้นเพียงประเทศเดียวที่ยังไม่เป็นภาคีคือ ซูดานใต้

            (South Sudan) ซึ่งเพิ่งได้รับเอกราชแยกจากซูดานในปี ๒๕๕๔
                    19  รายละเอียดเกี่ยวกับสหภาพอาฟริกา (African Union) สืบค้นจาก http://www.au.int/ ประกอบบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกลไก
                                                                       nd
            การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสหภาพอาฟริกา (Internal Human Rights Law: 2 Edition (pp 1033-1038 ) by Olivier De Schutter,
            2014, Cambridge: Cambridge University Press และ The African Commission on Human and People’s Rights and the
            Future African Court of Justice and Human Rights: Comparative Lessons from the European Court of Human Rights by
            Jeremy Sarkin ,2012, South African Journal of International Affairs. 18 (3) pp 281-293.)
                    20  มาตรา 4 (g) แห่งธรรมนูญจัดตั้งสหภาพอาฟริกา
                    21  มาตรา 4 (h) แห่งธรรมนูญจัดตั้งสหภาพอาฟริกา
                    22  มาตรา 4 (j) แห่งธรรมนูญจัดตั้งสหภาพอาฟริกา
                    23  From Internal Human Rights Law: 2  Edition (pp 31 ) by Olivier De Schutter, 2014, Cambridge: Cambridge
                                                    nd
            University Press ประกอบการวิเคราะห์เพิ่มเติมของ International Human Rights (pp 1025) by Philip Alston and Ryan Goodman,
            2012 Oxford: Oxford University Press.
                                                                                                              35
                                                                          ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41