Page 35 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 35
• พิธีสารเลือกรับเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (Additional Protocol
in the Area of Economic, Social and Cultural Rights 1988) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า พิธีสารซานซัลวาดอร์ (San
Salvador Protocol) ซึ่งก�าหนดระบบการรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมส�าหรับ
ประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก OAS เข้าเป็นภาคีพิธีสาร จ�านวน ๑๖ ประเทศ
• พิธีสารเลือกรับเพื่อยกเลิกโทษประหารชีวิต (Optional ACHR Protocol to Abolish the
Death Penalty 1990) ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก OAS เข้าเป็นภาคีจ�านวน ๑๓ ประเทศ
• อนุสัญญาระหว่างรัฐอเมริกาเพื่อป้องกันและลงโทษการทรมาน (Inter-American Convention
to Prevent and Punish Torture 1985) ซึ่งสะท้อนหลักการที่ปรากฏในอนุสัญญาต่อต้านการทรมานขององค์การ
สหประชาชาติ (ดูในหัวข้อ ๒.๑.๓)
• อนุสัญญาระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยการป้องกัน การลงโทษและการขจัดความรุนแรงต่อสตรี
(Inter-American Convention on the Prevention, Punishment and Eradication of Violence against Women
1994) หรืออนุสัญญาเบเลมโดพารา (Convention of Belem do Para)
• อนุสัญญาระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยการสูญหายของบุคคลโดยถูกบังคับ (Inter-American
Convention on the Forced Disappearance of Persons 1994)
• อนุสัญญาระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบต่อคนพิการ (Inter-
American Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Persons with Disabilities
1999) ซึ่งตราขึ้นก่อนอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของผู้พิการโดยองค์การสหประชาชาติ (CRPD 2006)
• อนุสัญญาระหว่างรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านการคลั่งเชื้อชาติ การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และการ
ไม่ยอมรับความแตกต่างในรูปแบบอื่น (Inter-American Convention against Racism, Racial Discrimination, and
Related Forms of Intolerance 2013)
• อนุสัญญาระหว่างรัฐอเมริกาเพื่อต่อต้านการเลือกปฏิบัติและขันติธรรมในความแตกต่างในทุก
17
รูปแบบ (Inter-American Convention against All Forms of Discrimination and Intolerance 2013)
๒.๓.๓ สหภาพอาฟริกา (African Union)
ทิศทางการพัฒนาสิทธิมนุษยชนของสหภาพอาฟริกา หรือชื่อเดิม คือ องค์การเอกภาพแห่งอาฟริกา
(Organization of African Unity: OAU) แตกต่างจากภูมิภาคยุโรปและอเมริกาโดยตราสารก่อตั้ง OAU ที่จัดท�าขึ้นในปี
พ.ศ. ๒๕๐๖ ก�าหนดวัตถุประสงค์ประการหนึ่งของ OAU ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศโดยค�านึงถึงกฎบัตร
สหประชาชาติและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เมื่อประเทศในภูมิภาคอาฟริกาได้รับอิสรภาพมากขึ้นในทศวรรษ
ดังกล่าวและในเวลาต่อมาไม่นาน หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน (Non-inteference) กลายเป็นหลักการส�าคัญระหว่าง
ประเทศสมาชิก OAU เนื่องจากความอ่อนไหวในประเด็นอิสรภาพของประเทศที่เพิ่งได้รับ ในเวลาเกือบสองทศวรรษนับ
ตั้งแต่มีการก่อตั้ง OAU จึงได้มีการตรากฎบัตรอาฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและประชาชน (African Charter on Human
and Peoples’ Rights) หรือกฎบัตรบันจุล (Banjul Charter) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยมีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๒๙
17
ตราสารเกี่ยวกับอาณัติขององค์การรัฐอเมริกา สืบค้นจาก http://www.oas.org/en/iachr/mandate/basic_documents.asp
34
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ