Page 32 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 32
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
8
สิทธิมนุษยชน” ซึ่งเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกว่า แม้กลไกระดับภูมิภาคจะท�าหน้าที่ในการเสริมสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
สากล แต่ก็อาจเป็นเครื่องมือในการสร้างมาตรฐานที่เบี่ยงเบนไปจากความเป็นสากลของหลักการสิทธิมนุษยชนได้
9
เช่นเดียวกัน (ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวพันกับกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนโดยเฉพาะการตราปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน)
โดยเป็นที่น่าสังเกตว่า ภูมิภาคหลักต่าง ๆ ของโลกล้วนมีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนขึ้น ซึ่งในกรณีภูมิภาคอเมริกาและ
ยุโรป กลไกสิทธิมนุษยชนถือก�าหนดขึ้นไม่นานหลังจากการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ นอกจากนั้น
กลไกระดับภูมิภาคมีความแตกต่างที่ส�าคัญจากกลไกสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ในแง่ที่ว่าไม่มีการก�าหนดรูปแบบหรือมาตรฐาน
ในลักษณะเช่นเดียวกันที่องค์การสหประชาชาติได้ออกมติที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “หลักการปารีส” เพื่อก�าหนดมาตรฐาน
ในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงอ�านาจหน้าที่ องค์ประกอบและความเป็นอิสระ วิธีการด�าเนินการ และสถานะขององค์กรส�าหรับ
10
กลไกหรือสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงข้อมูลในภาพรวมของกลไกสิทธิมนุษยชนในสามภูมิภาค
ได้แก่ ยุโรป อเมริกาและอาฟริกา
๒.๓.๑ สภาแห่งยุโรป (Council of Europe)
สภาแห่งยุโรปจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๒ โดยมีประเทศสมาชิกที่ก่อตั้ง ๑๐ ประเทศ ได้แก่ เบลเยี่ยม
เดนมาร์ก ฝรั่งเศส ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร และมีการเพิ่ม
11
จ�านวนประเทศสมาชิกในหลายช่วงเวลา ในปัจจุบันมีสมาชิก ๔๗ ประเทศ
ในตราสารก่อตั้งสภาแห่งยุโรปก�าหนดเงื่อนไขส�าหรับสมาชิกภาพว่า “สมาชิกของสภาแห่งยุโรป
ต้องยอมรับหลักการนิติรัฐ และการมีสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคลทุกคนภายใต้เขตอ�านาจของตน และ
12
ต้องร่วมมืออย่างจริงใจและเห็นผลในการท�าให้บรรลุเป้าหมายของสภา” ภารกิจหลักของสภาแห่งยุโรปเมื่อแรกจัดตั้ง
คือ การเจรจายกร่างธรรมนูญสิทธิมนุษยชน ซึ่งได้เริ่มการเจรจาในเดือนสิงหาคม ๒๔๙๒ และแล้วเสร็จในเดือนกันยายน
๒๔๙๓ ซึ่งก่อให้เกิด “อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” (European Convention on Human Rights) ที่มีผลใช้บังคับ
ในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๙๓ นอกจากจะใช้ระยะเวลาในการเจรจายกร่างที่สั้นแล้ว อนุสัญญายุโรปยังก่อตั้งศาลยุโรปว่าด้วย
8 ปฏิญญาและแผนงานแห่งกรุงเวียนนา (VDPA) ย่อหน้า ๓๗
9
From International Human Rights Law: 2nd Edition (pp 35) by Olivier De Schutter, 2014, Cambridge: Cam-
bridge University Press ประกอบบทวิเคราะห์และข้อเสนอเกี่ยวกับการสร้างมาตรฐานส�าหรับกลไกสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาค (To-
ward Minimum Standards for Regional Human Rights System by Christof Heyns and Magnus Killander, 2009, ESSAYS ON
INTERNATIONAL LAW IN HONOR OF W. MICHAEL REISMAN edited by Mahnoush H. Arsanjani, Jacob Katz Cogan, Robert
D. Sloane & Siegfried Wiessner, 2010.)
10 Principles relating to the Status of National Institutions (The Paris Principles) adopted by General Assembly
resolution 48/134 of 20 December 1993. Retrieved from
http://www.ohchr.org/EN/ProfessionalInterest/Pages/StatusOfNationalInstitutions.aspx
11 From “ Council of Europe” (pp 983-1005 ) International Human Rights Law: 2nd Edition by Olivier De
Schutter, 2014, Cambridge: Cambridge University Press ประกอบบทวิเคราะห์กลไกการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยสภาแห่งยุโรป
(The Council of Europe and the Protection of Human Rights: A System in Need of Reform by Virginia Mantouvalou and
Panayotis Voyatzis, 2008, Research Handbook on International Human Rights Law (Elgar Orginal Reference) edited by
Sarah Joseph and Adam McBeth, 2011, Northampton: Edward Elgar Publishing)
12 มาตรา ๓ แห่ง ตราสารจัดตั้งสภายุโรป
31
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ