Page 29 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 29

๒. กระบวนการร้องเรียน (Complaints Procedure)

                                   คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยังจัดให้มีกระบวนการร้องเรียนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน
              ขึ้นในปี  พ.ศ.  ๒๕๕๐  เพื่อพิจารณารูปแบบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ชัดแจ้งหรือที่มี

              หลักฐานน่าเชื่อถือได้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในส่วนใดของโลกหรือไม่ว่าในสถานการณ์ใด โดยได้จัดตั้งคณะท�างานขึ้น
              สองคณะ ได้แก่ คณะท�างานด้านค�าร้อง (Working Group on Communications: WGC) และคณะท�างาน
              ด้านสถานการณ์ (Working Group on Situations: WGS) ส�าหรับรายละเอียดหลักเกณฑ์การเสนอค�าร้องและ

              การตรวจสอบข้อร้องเรียนและสถานการณ์สามารถตรวจสอบได้จากฐานข้อมูลของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน
              โดยตรง 3





                                ๓. กระบวนการพิเศษ (Special Procedures)

                                   กระบวนการพิเศษเป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลไกที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจัดตั้งขึ้น
              เพื่อพิจารณาปัญหาสิทธิมนุษยชนรายประเทศ (Country situations) หรือรายประเด็น (Thematic issues)
              โดยมีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญรายบุคคล  (Independent  experts)  หรือคณะท�างาน  (Working  group)  ซึ่ง

              แต่ละคณะมักประกอบด้วยสมาชิก ๕ คน จากแต่ละภูมิภาค ทั้งนี้ คณะมนตรีได้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อท�าหน้าที่
              รับผิดชอบตรวจสอบและท�าการศึกษาและจัดท�าข้อเสนอแนะในประเด็นสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้านในหลาย
              ประเด็น เช่น การศึกษา เสรีภาพทางศาสนาหรือความเชื่อ การทรมาน และการค้ามนุษย์ เป็นต้น และส�าหรับ

              การตรวจสอบรายประเทศได้มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญรายบุคคลเพื่อรับผิดชอบการตรวจสอบประเด็น
              สิทธิมนุษยชน ส�าหรับกัมพูชา เมียนมาร์ ซีเรีย และเกาหลีเหนือ เป็นต้น




                       ๒.๒.๒ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights)

                             ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) เป็นค�าประกาศที่ประเทศสมาชิกองค์การ
          สหประชาชาติแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการก�าหนดมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แม้ว่าจะไม่มีผลบังคับ

          ทางกฎหมายโดยตรง แต่ได้มีการน�า UDHR ไปใช้ในการวางรากฐานสิทธิมนุษยชนในหลายประเทศ และยังถูกน�าไปใช้เป็น
          เครื่องมืออ้างอิงในเวทีการเมืองระหว่างประเทศอีกด้วย ข้อประกาศใน UDHR มีทั้งหมด ๓๐ ข้อซึ่งครอบคลุมประเด็น
          ด้านสิทธิมนุษยชน ดังต่อไปนี้











                 3  From Human rights Council Complaint Procedure, by the Office of the United Nations High Commissioner

          for Human Rights (OHCHR). Retrieved from  http://www.ohchr.org/EN/HRBodies/HRC/ComplaintProcedure/Pages/HRC-
          ComplaintProcedureIndex.aspx



       28
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34