Page 34 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 34
พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
Human Rights Obligations of the ASEAN Community
สภาแห่งยุโรปมีบทบาทส�าคัญในการส่งเสริมแนวทางร่วมกัน (Common approach) ของภูมิภาคในด้านต่างๆ เช่น การ
คุ้มครองสิ่งแวดล้อมโดยใช้กฎหมายอาญาเป็นเครื่องมือ การต่อสู้การคอรัปชั่นหรือการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความ
14
สัมพันธ์ในทางอ้อมกับประเด็นสิทธิมนุษยชน
๒.๓.๒ องค์การรัฐอเมริกา (Organization of American States)
บทบาทขององค์การรัฐอเมริกาในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนมีความคล้ายคลึงกับ
บทบาทของสภาแห่งยุโรป โดยองค์การรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนแปลงชื่อจาก “สหภาพภาคพื้นอเมริกา” (Pan American
Union) ซึ่งมีสมาชิกแรกเริ่มจ�านวน ๒๑ ประเทศ เพิ่มจ�านวนสมาชิกเป็น ๓๖ ประเทศในภาคพื้นทวีปอเมริกาในปัจจุบัน 15
มีตราสารที่ส�าคัญในด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การรัฐอเมริกา ฉบับแรก คือ ปฏิญญาอเมริกาว่าด้วย
สิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ (American Declaration on the Rights and Duties of Man) ซึ่งตราขึ้นในเดือนสิงหาคม ๒๔๙๑
(ก่อนการตราปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน) ปฏิญญาอเมริกาปี พ.ศ. ๒๔๙๑ นี้ ในระยะ
เริ่มแรกไม่มีวัตถุประสงค์ให้มีสภาพเป็นตราสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ
ระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Inter-American Commission on Human Rights) ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ (โดย
มีที่ท�าการ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา) ตราสารจัดตั้งคณะกรรมาธิการได้ก�าหนดให้คณะกรรมาธิการ
คุ้มครองสิทธิที่ปรากฏในปฏิญญาอเมริกา ซึ่งท�าให้ปฏิญญาดังกล่าวมีสภาพบังคับโดยปริยาย ตราสารฉบับที่สอง คือ
อนุสัญญาอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (American Convention on Human Rights) ซึ่งตราขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ และ
มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ อนุสัญญานี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและได้ก่อตั้ง
ศาลระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Inter-American Court of Human Rights) (โดยมีที่ท�าการที่กรุงซันโฮเซ
คอสตาริกา) ในบรรดาสมาชิกองค์การรัฐอเมริกา ๓๖ ประเทศ มีสมาชิก ๒๓ ประเทศเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้
(ประเทศสมาชิก OAS ที่ไม่เข้าเป็นภาคีส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) สมาชิกที่เข้าเป็น
ภาคีอนุสัญญาสามารถเลือกที่จะยอมรับเขตอ�านาจของศาลระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ เมื่ออนุสัญญา
มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ แล้ว ได้มีการปรับปรุงตราสารจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยก�าหนดให้สิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นภารกิจหลักของคณะกรรมาธิการ หมายถึง “สิทธิที่ปรากฏใน
อนุสัญญาอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส�าหรับรัฐภาคี” และ “สิทธิที่ปรากฏในปฏิญญาอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนส�าหรับ
รัฐสมาชิกอื่น” 16
นอกจากตราสารหลักสองฉบับข้างต้นแล้ว องค์การรัฐอเมริกายังจัดท�าตราสารสิทธิมนุษยชนระดับ
ภูมิภาคที่มีผลผูกพันทางกฎหมายอื่น ๆ เพิ่มเติมขึ้นอีก เช่น
nd
14 From Internal Human Rights Law: 2 Edition (pp 25--29 ) by Olivier De Schutter, 2014, Cambridge:
Cambridge University Press ประกอบบทวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และความทับซ้อนของขอบเขตอ�านาจหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ระหว่างสภาแห่งยุโรปและสหภาพยุโรป
15
รายละเอียดเกี่ยวกับองค์การรัฐอเมริกา สืบค้นได้จาก http://www.oas.org/ ประกอบบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกลไกการคุ้มครอง
nd
สิทธิมนุษยชนขององค์การรัฐอเมริกา (Organization of American States –OAS) (Internal Human Rights Law: 2 Edition (pp
1006-1031 ) by Olivier De Schutter, 2014, Cambridge: Cambridge University Press) และคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐอเมริกา
ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Inter-American Commission on Human Rights- IACHR ) (The Inter-American System of Human Rights:
Challenges for the Future by Claudio Grossman 2008, Indiana Law Journal, Vol. 83, pp. 1267 )
16
มาตรา ๒ a และ b แห่งตราสารจัดตั้งคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐอเมริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (IACHR)
33
ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ