Page 33 - รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง พันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนของประชาคมอาเซียน
P. 33

สิทธิมนุษยชน (European Court of Human Rights) ซึ่งมีเขตอ�านาจระหว่างประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกและสามารถรับ
          เรื่องร้องเรียนที่เกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อบุคคลใด ๆ ซึ่งส่งให้ศาลพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการยุโรปว่าด้วย

          สิทธิมนุษยชน (European Commission on Human Rights) ในชั้นแรกเริ่ม เขตอ�านาจของศาลยุโรปถือเป็นเรื่องที่ไม่
          บังคับ  (Optional)  และปัจเจกบุคคลไม่สามารถเข้าถึงศาลได้โดยตรงโดยต้องส่งเรื่องผ่านไปยังคณะกรรมาธิการยุโรปว่า
          ด้วยสิทธิมนุษยชน

                             ในปัจจุบัน  การให้สัตยาบันอนุสัญญายุโรปถือเป็นเงื่อนไขบังคับของการได้รับสมาชิกภาพในสภา
          แห่งยุโรป อย่างไรก็ตาม อนุสัญญาดังกล่าวมีข้อจ�ากัดที่มิได้รองรับสิทธิทางสังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้น จึงมีความพยายาม
          ในการยกร่างตราสารที่รองรับสิทธิดังกล่าว  ซึ่งใช้เวลาด�าเนินการหกปี  และน�าไปสู่การใช้บังคับ  “ธรรมนูญด้านสังคมแห่ง

          ยุโรป” (European Social Charter) ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ นอกจากตราสารทั้งสองฉบับ (และพิธีสารเลือกรับซึ่งตราขึ้นเพื่อ
          แก้ไขหรือก�าหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับตราสารทั้งสองฉบับ) ซึ่งถือเป็นแม่บทด้านสิทธิมนุษยชนของภูมิภาคยุโรปแล้ว

          สภาแห่งยุโรปยังได้พัฒนาตราสารและกลไกสิทธิมนุษยชนเฉพาะด้านเพื่อคุ้มครองกลุ่มบุคคลที่อยู่ในข่ายสุ่มเสี่ยงการถูก
          ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น
                             • อนุสัญญายุโรปเพื่อปราบปรามการก่อการร้าย (European Convention on the Suppression

          of Terrorism 1977)
                             • อนุสัญญายุโรปเพื่อป้องกันการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่ไร้มนุษยธรรม (European

          Convention for the Prevention of Torture and Inhuman or Degrading Treatment or Punishment 1987)
          เพื่อปรับปรุงการเฝ้าระวังสภาพของบุคคลที่อยู่ในการกักขัง
                             • ธรรมนูญยุโรปส�าหรับภาษาของภูมิภาคหรือชนกลุ่มน้อย (European Charter for Regional

          or Minority Languages 1992) และอนุสัญญาแม่บทเพื่อการคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อย (Framework Convention
          for the Protection of National Minorities 1995) เพื่อคุ้มครองสิทธิของชนกลุ่มน้อย
                             • อนุสัญญายุโรปว่าด้วยการใช้สิทธิของเด็ก (European Convention on the Exercise of

          Children’s Rights 1996)
                             • อนุสัญญาเพื่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของมนุษย์ในการใช้ประโยชน์จาก
          ชีววิทยาและแพทยศาสตร์: อนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนและแพทยศาสตร์ชีวภาพ (Convention for the Protection of

          Human Rights and Dignity for the Human Being with regard to the Application of Biology and Medicine:
          Convention on Human Rights and Biomedicine 1997) เพื่อคุ้มครองศักดิ์ศรีของบุคคลจากการใช้เทคโนโลยีทาง

          ชีววิทยาและการแพทย์ในทางที่ผิด
                             • อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสัญชาติ (European Convention on Nationality 1997)
                             • อนุสัญญาสภาแห่งยุโรปว่าด้วยการป้องกันและต่อต้านความรุนแรงต่อสตรีและความรุนแรงใน

          ครอบครัว (Council of Europe Convention on preventing and combating violence against women and
                                                                            13
          domestic violence 2011) หรืออนุสัญญาอิสตันบุล (Istanbul Convention)  ในการพัฒนามาตรฐานระดับภูมิภาค







                 13
                    From Complete list of the Council of Europe’s treaties. Retrieved from http://www.coe.int/en/web/
          conventions/full-list


       32
               ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรสิทธิมนุษยชนแห่งชำติ
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38